ประเมินศักยภาพ “ Human” VS “AI” รับมือการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีแบบ Win-Win


https://activeloc.com/machine-vs-humans-translation/

9 พ.ค. 2565- ProgressTH.org - ฺBy Katibza

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น  ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence:AI), ระบบอัตโนมัติ (Automation) เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ( 3D Printer)  และ IoT เป็นต้น

อย่างไรก็ตามคำถามที่เรามักได้ยินและสร้างความหวั่นใจอยู่บ้าง  นั่นคือ AI จะมาแย่งงานมนุษย์ (เงินเดือน) หรือเปล่า  เราจะถูกแย่งงานไหม ต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร จะมีใครช่วยได้บ้าง  และอีกมากมายหลายคำถามที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนในเรื่องนี้มากนัก 

ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้น win-win กับทุกฝ่าย


ส่วนผสมที่ลงตัว “มนุษย์ + AI” ?

รายงานจาก  MIT ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภายใน 2020 AI จะกำจัดงานเก่าไป1.8 ล้านตำแหน่ง และจะสามารถสร้างงานใหม่ขึ้นมาประมาณ 2.3 ล้านตำแหน่ง เห็นได้ว่ามีสัดส่วนในการ “สร้างงาน” มากกว่า “แย่ง/กำจัดงาน”  ในเรื่องนี้เราอาจะสามารถมองเห็นปรากฎการณ์ยุค “อินเตอร์เน็ต” ได้ ว่านำมาซึ่การสร้างอาชีพใหม่ๆ อย่างมหาศาล

โดยในรายงานระบุว่า ในอนาคตจะมีงานเช่น ตำแหน่ง "เจ้าหน้าที่การฝึกฝนความเห็นอกเห็นใจ" (Emphaty Trainer) ซี่งดูอาจจะไม่คุ้นมากนัก แต่ใครจะรู้ว่าในอนาคตตำแหน่งนี้ อาจจะเป็นตำแหน่งธรรมดาๆ เหมือน ครู  ทนายความ ในยุคนี้ก็ได้

ดังนั้น การทำความเข้าและยอมรับเพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด  เพื่อให้ “มนุษย์” สามารถใช้ประโยชน์จากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ (Emerging Technology)  มากที่สุด 

อีกทั้งในความเป็นจริงแล้ว “AI” คงไม่สามารถแย่งงาน “มนุษย์” ได้ เพราะ “มนุษย์” เป็นผู้สร้าง (Makers) และอยู่เบื้องหลังการทำงานของ AI นั่นเอง   ดังนั้น งานที่ AI สร้างจึงเป็นงานที่ AI ไม่สามารถทำได้และต้องพึ่งพาความรู้สึกความสามารถของ “มนุษย์” เป็นหลัก  ซึ่งเป็นงานที่ไม่ใช่ทาง "เทคนิค" (Tehcnical Skills)  ที่ AI สามารถลุยเดี่ยวเองได้

 แต่เป็นงานที่ต้องใช้ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความเห็นอกเห็นใจ (Emphaty)  การสื่อสาร  (Communication) ซึ่ง AI ยังไม่ไปถึงขั้นนั้นและมนุษย์ทำได้ดีกว่าหุ่นยนต์/AI แน่นอน   ดังนั้น   ความสามารถของ “มนุษย์” และ “ AI” จึงเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง “เทคนิค + ความสร้างสรรค์”นั่นเอง

“เศรฐกิจแบ่งปัน  (Sharing  Economy) ต้นแบบมนุษย์ทำงานร่วมกับ AI


ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น จากระบบเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy)ที่ใกล้ตัวเรา  เช่น  Grab, Uber, และ AirBnB หรือแม้แต่ Platform Ecommerce เช่น  Amazon, Alibaba, Lazada ล้วนแล้วแต่มี AI อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น   ในเรื่องการนำแนกสังเคราะห์ข้อมูล(Customise Data )ต่างๆ

 เห็นได้ว่า platform เหล่านี้ได้สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนจำนวนมากมาย  เพราะหุ่นยนต์ /AIไม่สามารถทำภารกิจต่างๆได้ถ้าไม่มี "คน" เข้ามาช่วย   โดนเฉพาะในการสื่อสารและการบริการ ที่ “คน” ยังมีทักษะนี้สูงกว่า AI เสมอ อีกทั้งต้องเข้าใจว่า "คน" เป็นผู้เริ่มต้นเทคโนโลยีเหล่านี้   เพราะฉะนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการตัด "คน" ออกจากกระบวนการผลิตสิ่งต่างๆ

ดังนั้น แน่นอนว่าหุ่นยนต์และ AI อาจจะเข้ามาแทนที่งานเดิมๆ ของเราบ้าง แต่ยังเหลืองานอีกจำนวนมากให้กับ "คน" อย่างแน่นอน  โดยเฉพาะงานที่เป็น "จุดอ่อน" ของหุ่นยนต์ และ งานที่เป็น"จุดแข็ง" ของคน นั่นเอง

ทั้งนี้หุ่นยนต์/AI ยังไม่สามารถทำภารกิจที่มีความซับซ้อนทางอารมณ์ได้  ยังไม่สามารถพูดจาโน้มน้าว ชักชวน จูงใจ ได้แบบที่ "คน"ทำได้ อีกทั้งยังไม่สามารถ "มีความคิดสร้างสรรค์" หาแนวทางใหม่ๆ มาแก้ปัญหาให้สังคมได้ด้วยตัวเอง

หุ่นยนต์ยังไม่มีพัฒนาการเรื่อง "ทักษะทางสังคม" เพราะฉะนั้น งานเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น งานด้านการบริหารจัดการ งานการพยาบาล  งานด้านศิลปะ/ศิลปิน และ ผู้ประกอบการต่างๆ  งานเหล่านี้ยังต้องใช้ "คน" ทั้งหมด

 นอกจากนี้เรายังรู้อีกว่าถ้าเทคโนโลยีกลไกต่างๆ ไม่ทำงาน  หรือทำงานไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้  จะเกิดความน่าอีดอัดแค่ไหนและสุดท้ายก็ยังต้องให้ "คน" มาแก้ไขสถานการณ์ทั้งสิ้น  เพราะฉะนั้น เรายังต้องการ "คน"ที่เก่งและเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีมา "รักษา/ซ่อมแซม/ปรับปรุง" หุ่นยนต์เหล่านี้แน่นอน  เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเตรียมใจทำงานร่วมกับ "หุ่นยนต์" น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า

รู้จักพลังอำนาจของ “AI” ที่่เหนือกว่า “มนุษย์”

 ทุกวันนี้ AI เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ที่ใกล้ตัวที่สุด คือ   โดยเฉพาะใน Smartphone  ที่มี Application ต่างๆที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นมาก   เพราะมี AIอยู่เบื้องหลังการจัดการข้อมูลต่างๆให้เรานั่นเอง

นอกจากนี้ที่เห็นมากชัดเจนกว่านั้น คือ  "รถยนต์ไร้คนขับ (Self Driving car)ที่กำลังมีการพัฒนาจากบริษัทรถยนต์ต่างๆ และคาดว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ใกล้ที่สุดที่จะผลต่อชีวิตเราอีก  10 ปีข้างหน้า 

โดยรายงานจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ปี  2556 ชี้ว่า ครึ่งหนึ่งของงานในประเทศสหรัฐจะเป็นระบบอัตโนมัติ โดยได้ลงลึกไปที่ งานการขนส่งมวลชน  งานด้านธุรการ ซึ่งจะเป็นงานที่จะถูกทดแทนด้วย AI ทั้งหมด

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ เช่น  Googles, Facebooks และ Amazons ต่างทุ่มเงินศึกษาและพัฒนา AI กันอย่างเต็มที่  เพราะถ้าใครทำได้สำเร็จก่อนก็จะได้ครอบครอง "จุดแข็ง" ของ AI "ประสิทธิภาพ และ พลังอำนาจ" ของ AI นั่นเอง

 AI ทำให้งานมี "ประสิทธิภาพ" (Efficeincy) เพราะสามารถทำงานได้คร้ั้งละมากๆ โดยสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะงานที่มีความซ้ำซากน่าเบื่อต้องทำซ้ำๆ เช่น งานประกอบชิ้นส่วนในโรงงาน งานจัดการคลังสินค้าเหมือนที่ Amazon และ Alibaba นำหุ่นยนต์มาใช้ สามารถทดแทนพนักงานได้นับพันๆคน เพราะหุ่นยนต์เหล่านี้ทำงานไม่มีหยุด

นอกจากนี้ AI ยังมี "พลังอำนาจ"(Power)เพราะ AI มีศักยภาพที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ เช่น การสแกนหาข้อมูลที่ซับซ้อนได้อย่างรวด  เช่น Watson ของ IBM ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลโรคมะเร็งได้ภายในไม่กี่นาที เป็นต้น

 ข้อคิดประวัติศาสตร์การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี

 อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ยังเป็นที่กังวลใจกันอยู่ดีว่างานที่เคยมีจะถูก AI/ หุ่นยนต์ยึดไปจนหมด  ทำให้มีการทำนายคาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น จะเป์นไป 2 แนวทาง คือ 1. ยุคหายนะ (Dystopia) เป็นยุคที่ไม่งานทำ  เกิดความเหลื่อมล้ำ สังคมเข้าสู่กลียุค 2. ยุครุ่่งเรือง  (Utopia)เป็นยุคที่รัฐบาลจ่ายสวัสดิการให้ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยประชาชนมีเวลาเพิ่มมากขึ้น มีความก้าวหน้าในการผลิตและสร้างสรรค์  และมีแนวโน้มเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น

 ดังนั้น เมื่อดูเหมือนว่าจะมีวิกฤตและโอกาสแบบนี้  เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะมองไปที่โอกาส  หรืออย่างน้อยควรทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของมนุษยชาติที่มีการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี เพราะเรามีการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแล้วถึง 3 ครั้ง ตั้งแต่ยุคพลังงานไอน้ำ ปี 1760 ,  ยุคพลังงานไฟฟ้า,เหล็ก และ น้ำมัน ปี 1860   ยุคคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตปี 1960  และ ปัจจุบัน ยุคที่ 4  ซึ่งเป็นการหลอมรวมของเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ เข้าด้วยกัน

โดยทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนผ่าน ความเจริญก้าวหน้าก็จะเกิดขึ้น  อย่างเช่นใน สหรัฐในปี 1800 ประชากร 80% มีอาชีพเกษตรกร  แต่ปัจจุบันเหลือแค่ 2 % เท่านั้น และ เครื่องจักร หุ่นยนต์ต่างๆ ยังทำให้การเกษตรง่ายขึ้น

 รวมถึงในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ก่อนหน้านี้การเกี่ยวข้าวต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หลังจากมีการพัฒนารถเกี่ยวข้าว ก็ใช้จำนวนคนไม่กี่คนเท่านั้นและสามารถเก็บเกี่ยวได้รวดเร็วกว่าเดิมหลายเท่าอีกด้วย

 ทั้งนี้สถาบันวิจัย Gartner ระบุว่า 1 ใน 3 ของงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะมีการ "เปลี่ยนผัน" (convert) ไปสู่ เครื่องจักรอัจฉริยะ หุ่นยนต์ และ ซอฟท์แวร์ต่างๆ ภายในปี 2025 

เปิด  6 อาชีพที่รอดจาก AI

อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายอาขีพที่ "หุ่นยนต์" ไม่สามารถแทนที่ความสร้างสรร การมีเหตุมีผล ไอเดียด้านศิลปหัตถกรรม โดยยังมีอาชีพที่เหนือกว่าหุ่นยนต์ คือ

1. อาชีพผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็ก (Childcare Expert)  เพราะหุ่นยนต์ยังไม่มีความสามารถพอที่จะดูแลทารกได้  การเลี้ยงทารกต้องเป็น “คน”เท่านั้น  เพราะฉะนั้น คนที่ทำงานดูแลเด็กไม่ต้องกลัวหุ่นยนต์แย่งงาน

2. คนทำอาหาร (Chef) หุ่นยนต์ไม่สามารถที่จะแยกแยะ ชิม อาหารต่างๆได้  มีแต่มนุษย์เท่านั้น

3. ไกด์ทัวร์ (Tour Guide) คนต้องการประสบการณ์ท่องเที่ยวที่แท้จริง  ไม่ใช่การนำเที่ยวท่อ่งจำจากหุ่นยนต์

4. สื่อมวลชน (Journalist) หุ่นยนต์สามารถเขียนข่าวได้ แต่ไม่สามารถ   สัมภาษณ์แหล่งข่าวอย่างวิเคราะห์เจาะลึกได้  ดังนั้น สื่อที่มีคุณภาพยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเสมอ  เพราะยุคปัจจุบันถือเป็นยุคทองของเนื้อหา (Age of Content) เพราะฉะนั้น เรื่องราวดีๆ ยังได้รับความนิยมและติดตามตลอด

5. ศิลปิน (Artists) ซึ่งรวมถึง นักเขียน นักดนตรี จิตรกร นักปูนปั้น ผู้กำกับ  และกลุ่มคนที่ชอบงานหัตถกรรมต่างๆ  ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะเหล่านี้ต้องทำโดย “คน”เท่านั้น แม้ว่า AI อาจจะแต่งเพลงได้ เขียนได้ แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ของจริงอยู่ดี (Artificial)

6. หมอ (Doctor) การปฏิสัมพันธ์กับคนไข้เป็นเรื่องสำคัญมากเพราะมีผลต่อจิตใจคนไข้ ซึ่งหุ่นยนต์ยังไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ เพราะหุ่นยนต์ยังไม่สามารถแสดงความรู้สึก “เข้าอกเข้าใจ” (Emphaty)  นั่นเอง


ทั้งหมดนี้จึงกลับมาที่ความคิดพื้นฐานเริ่มแรกของการคิดสร้างหุ่นยนต์ก็เพราะต้องการให้หุ่นยนต์มาทำงานที่น่าเบื่อซ้ำซากแทนคน เพราะหุ่นยนต์สามารถทำงานได้ 24/7  ไม่มีเหน็ดเหนื่อย และหว้งว่าเพื่อให้ "คน" มีเวลาใช้ความคิดสร้าางสรรค์และออกไปหาความสุขให้กับชีวิตมากขึ้น

แล้วคุณล่ะ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรและทักษะการเป็น “มนุษย์” เต็มที่หรือยัง


######