Makerspace : พื้นที่ของนักสร้างสรรค์ ลงมือทำให้เป็นจริง

17 ม.ค. 2558- Progress Thailand - การเกิดขึ้นของ Maker movement ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ที่สำคัญในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่แพร่สะพัดไปทั่วโลก โดย Makerspace เป็นพื้นที่รวมพลังของเหล่า “ผู้สร้าง” ในการทำโปรเจคต่างๆ   ความสำเร็จต่างๆ ได้สร้างแรงบันดาลใจ ในการสร้างต้นแบบและทำซ้ำเพื่อขยายไปเรื่อยๆ  โดยหนึ่งในนั้น รวมถึงประเทศไทย ศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้




Makerspace : Make Things Not War

Makerspace เป็นสถานที่สำหรับสร้างชิ้นงานต้นแบบ ประกอบด้วยเครื่องมือที่จำเป็นให้นักประดิษฐ์สามารถหยิบยืมมาใช้ได้ เป็นเหมือนเวิร์คช็อป/ ช็อป ที่ให้ทุกคนสามารถเข้ามาทำโปรเจคต่างได้ๆ โดยที่ทุกคนจะมีโต๊ะสำหรับสร้างผลงานของตัวเองโดยแวดล้อมไปด้วยเครื่องมือและเครื่องจักรต่างๆ เช่น เครื่องเจาะ เครื่องกลึง เครื่องตัดเหล็ก เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เป็นต้น

โดยเครื่องมือเหล่านี้ถ้าซื้อเองจะมีราคาสูงมาก แต่นักประดิษฐ์ สามารถเข้าถึงเครื่องมือเหล่านี้ได้ที่ Makerspace โดยแลกกับเสียค่าบริการในราคาที่สมเหตุผล โดยจากนี้ไปทุกคนสามารถสร้างสิ่งต่างๆที่ตัวเองอยากได้ โดยไม่ต้องรอว่าจะไปซื้อหาที่ไหน เพราะสามารถมาสร้างเองที่ Makerspace ได้เลย เพราะมีทั้งเครื่องมือ และผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยช่วยเหลือกันอยู่แล้ว

ทั้งนี้Makerspace กำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศโดยเฉพาะทาง ฝั่งอเมริกา และยุโรป ประกอบกับโลกออนไลน์ที่เปิดให้มีการระดมทุน (Cloud funding) จากโครงการ Kickstarter ต่างๆ ทำให้มีนักออกแบบประสบความสำเร็จอย่างมากมาย ในการนำผลิตภัณฑ์ที่ตัวเองสร้างไปต่อยอดทางธุรกิจเพื่อก้าวเป็นผู้ประกอบการ และปรากฎการณ์นี้กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยของเราด้วย

โดยปลายปี 2557 ที่ผ่านมา มี Makerspace อย่างน้อย 3 แห่งในประเทศไทยเกิดขึ้น ซึ่งลักษณะก็เหมือน Makerspace ทั่วโลก ที่จะมีเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ที่สามารถสร้างงานต้นแบบ (Prototype) ได้ อาทิ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D printer) และอุปกรณ์อิเลคโทรนิคต่างๆ Arduino (บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูล AVR ที่มีการพัฒนาแบบ Open Sourceคือมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งด้าน Hardware และ Software) Rasberri Pi (คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่สามารถดัดแปลงในการทำสิ่งต่างๆ) 

 เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆที่  Makerspace  

ทีม ProgressTH ไม่รอช้า และได้ลงพื้นที่ Makerspace ต่างๆ เพื่อนำมาเล่าสู่กันฟัง โดยพบว่าแต่ละ Makerspace มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง จากการ ประดิษฐ์/ การสร้าง สิ่งของต่างๆ ให้เป็นรูปธรรม จนไปถึงการทำงานศิลปะ โดยมีรูปแบบโมเดลธุรกิจแตกต่างกันไป


Electronics & Engineers 

เริ่มต้นกันที่ Home of Maker ตั้งอยู่ที่ ชั้น 4 Fortune IT mall พระราม 9 Makerspace แห่งนี้ สร้างโดย Gravitect ซึ่งเป็นบริษัทอิเลคทรอนิคและอุปกรณ์ Arduino Nano โดย Home of Maker แบ่งเป็นส่วนๆ ได้แก่ ร้านขายอุปกรณ์อิเลคทรอนิค , Makerspace และ ส่วนของ Class room โดยทุกวันพฤหัสฯจะมีการจัดอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Arduino และ โปรเจคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ Arduino เช่น การติดตั้งไฟ LED แบบอัตโนมัติ ที่ปรินท์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ  ทีมงานที่นี่ ส่วนใหญ่เป็นวิศกรคอมพิวเตอร์ พร้อมที่จะช่วยลูกค้าในการทำโปรเจคต่างๆ

เครื่องพิมม์ 3 มิติ เครื่องมือสำคัญในการเนรมิตสิ่งต่างๆ  จากเดิมการพิมพ์ทำได้แค่เพียงในกระดาษ แต่วันนี้สามารถพิมพ์ออกมาเป็นรูปทรงต่างๆได้แล้ว  รูปจาก Facebook Home of Maker 




























Makers and Hackers 

Maker Zoo ตั้งอยู่ที่เอกมัยซอย 4 หากคุณได้มาที่นี่ จะพบเห็นโปรเจคต่างๆมากมาย เพราะ Maker Zoo เป็นทั้ง Co-working space และทำงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึง Workshop ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Maker ไม่ว่าจะเป็น 3D Modelling, Sensor, การทำหุ่นยนต์ , Drone  ฯลฯ มาที่นี่จะได้รับความรู้และคำแนะนำที่ดีจากทีมงานที่เชี่ยวชาญเรื่อง Product development และ เรื่องอิเลคทรอนิคทุกอย่าง  อีกทั้ง Maker Zoo ยังมีบทบาทสำคัญในสร้าง Maker Movement ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อเชื่อมโยงกับกลุ่มต่างๆในเอเชีย

มิว ภัทรพร โพธิ์สุวรรณ ผู้ก่อตั้ง Maker Zoo บอกกับทีม ProgressTH ว่า ประเทศไทยควรเป็นศูนย์กลางของความคิดสร้างสรรค์และเป็นสวรรค์ของคนที่มีความชอบอิเลคทรอนิค และเป็นพื้นที่ของคนที่อยากจะเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ ซึ่งคนไทยจำนวนมากมีความเป็น “นักสร้าง” โดยธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่แค่อิเลคทรอนิคเท่านั้น แต่รวมถึงงานไม้, งานหนัง งานศิลปะหัตถกรรมต่างๆ ด้วย 

บรรยากาศการจัดเวิร์คช็อปที่ Maker Zoo เห็นได้ว่า Makerspace เหมือนเป็นห้องเรียนเรื่องเทคโนโลยี/ เครื่องมือต่างๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้  โดยไม่จำเป็นต้องไปที่สถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานต่างๆ เพราะทุกวันนี้ชุมชน Maker ได้เกิดขึ้นแล้ว 



Artists & Designers

ขณะที่ FabCafe ตั้งอยู่ที่ อารีย์ซอย 1 โดย ชุตยาเวศ สินธุพันธุ์ สถาปนิกชื่อดัง ผู้ร่วมก่อตั้ง FabCafe เล่าให้ฟังว่า ต้นแบบ Cafe นี้ขยายสาขามาญีปุ่น และ สเปน ซึ่งเป็นการแตกยอดมาจาก MIT's global Fab Lab network ซึ่งค่อนข้างเป็นวิชาการที่คนที่เข้าไปใช้เครื่องมือต่างๆได้จะเป็นนักศึกษา นักวิจัย เท่านั้น ดังนั้น FabCafe จึงอยากเป็นพื้นที่ที่ประชาชนเข้าถึงได้ โดยมีการอำนวยความสะดวกสำหรับคนที่ต้องการเข้ามาเรียนรู้ และแสดงฝีมือในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 3D printing, laser cutters, และการจัดทำ Workshop ต่างๆสำหรับการออกแบบและประดิษฐ์ข้าวของต่างๆที่แต่ละคนอยากทำให้เป็นจริงด้วยตัวเอง

บรรยากาศที่  FabCafe สำหรับผู้ที่ชอบศิลปะและการออกแบบ 





ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในเรื่องนี้ ทีม ProgressTH ได้ลงมือทำเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ ด้วยการออกแบบเองและปรินท์ชิ้นส่วนต่างๆจาก เครื่องพิมพ์ 3 มิติ พร้อมกับติดตั้งเครื่องควบคุมเวลา/ให้อาหารปลาจาก Arduino กลายเป็นเครื่องให้อาหารปลาต้นแบบที่เราสร้างเอง ซึ่งมีเครื่องเดียวในโลก  

สิ่งเหล่าได้สร้างความภูมิใจกับ Maker(สมัครเล่น) แบบเราอย่างมากมาย ที่ในยุคนี้สมัยนี้ เราสามารถทำสิ่งต่างๆเองได้ โดยไม่ต้องรอซื้อหาจากทีไ่หน แต่ลงมือทำเองเลย ซึ่งหากเป็นแต่ก่อนคงไม่มีทางที่จะทำด้วยตัวเองได้ แต่ ณ วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว เทคโนโลยีในสมัยนี้ที่ใช้กัน Makerspace ช่วยทำให้ชีวิตง่ายขึ้นมาก เพราะทุกอย่างแทบจะเป็นระบบอัตโนมัติทั้งสิ้น ทุกคนทำได้  ขอเพียงแค่เปิดใจเรียนรู้เท่านั้น 

เครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ ที่ทีมProgressTH  สร้างต้นแบบเอง โดยชิ้นส่วนทั้งหมดมาจากพิมพ์จากเครื่องพิมพ์3 มิติ

Home of Maker, Maker Zoo, และ  FabCafe เป็น Makerspace 3 แห่งหลักที่เปิดทำการแล้วตอนนี้ และมียังมีทีอื่นๆ เช่น ที่เชียงใหม่ด้วย ทั้งนี้ความสำคัญของ Makerspace ที่กำลังก่อร่างสร้างตัวในประเทศ หลายคนมองว่าเป็นแค่ความเคลื่อนไหวเล็กๆในแต่ละประเทศ แต่ความจริงแล้วเมื่อ Makerspace + โลกออนไลน์ ได้สร้างอิทธิพลอย่างมากในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนที่แม้ไม่เคยได้เจอกัน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้กับการเติบโตของธุรกิจใหม่ๆ อีกด้วย เพราะไม่จำเป็นต้องมีโรงงานขนาดใหญ่ก็สามารถทำ Prpduct ต่างๆได้

หลักการตรงนี้คือ สามารถสำรวจตลาดว่าผู้บริโภคต้องการอะไร จากนั้นกลับมาสร้างผลงานต้นแบบ และสามารถหาทุนได้ด้วยการระดมทุนผ่าน Cloud Funding ซึ่งหากมีคนเห็นด้วยก็จะมีคนบริจาคเงินสนับสนุน จากนั้น Maker ก็สามารถผลิตสินค้าและขายสินค้านั้นๆได้ 

บรรยากาศใน Makerspace ที่ Home of Maker มีอุปกรณ์และห้องจัดเวิร์คช็อป  พร้อมในการเรียนรู้สร้างสิ่งต่างๆ 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น   แต่จากนี้ไปในระดับสังคม Makerspace สามารถเป็นพื้นที่ของการระดมความเห็นเพื่อแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะมีทั้งคนที่มีไอเดีย มีเครื่องมือต่างๆ และมีการคิดไปด้วยกัน เพราะฉะนั้น Makerspace จึงเป็นเหมือน ศูนย์กลางของการสร้างสิ่งสร้างสรรค์ /การศึกษา เพื่อความก้าวหน้าในชุมชนท้องถิ่นและระดับชาติ

ติดตาม ProgressTH.org ใน Facebook ที่นี่ และ Twitter ที่นี่