ทั้งนี้ระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวเริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504-2538 โดยนายอองรี เดอ โลลานี กับ เกษตรกรในมาดากัสการ์ เรียกว่า “การปลูกข้าวแบบมาลากาซี” ต่อมาขยายไปประเทศต่าง ๆ เช่น อินโดนีเซีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และไทยเป็นต้น
ในประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ. 2547 สถาบันแมคเคนเพื่อฟื้นฟูสภาพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยอาจารย์เคล้าซ์ ปรินซ์ ส่งเสริมให้เกษตรกรที่จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ปลูกข้าวแบบ SRI ปัจจุบันได้ขยายไปหลายจังหวัด เช่น น่าน สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร สุพรรณบุรี นครราชสีมากาฬสินธุ์ และพบว่าการปลูกข้าวแบบ SRI ทำให้ได้มีผลผลิตมากขึ้น
ต้นข้าว SRI ของกลุ่มชาวนาวันหยุด |
หัวใจ S.R.I. ต้องเข้าใจ"ศักยภาพ" ต้นข้าว
ดร. นอร์แมน อัพฮอฟฟ์ ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์และการพัฒนาชนบท ผู้อำนวย การสถาบันอาหาร เกษตรกรรมและการพัฒนานานาชาติของคอร์แนล ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่การปลูกข้าวแบบ S.R.I. ให้เป็นที่รู้จักและมีการทดลองทำกันทั่วโลก กล่าวว่า หัวใจสำคัญของ S.R.I. อยู่ที่การเข้าใจถึง ศักยภาพโดยธรรมชาติของต้นข้าวแต่ละต้น ระบบนี้จึงปฎิรูปการจัดการต้นกล้าและสภาพแวดล้อม เพื่อพัฒนาระบบรากของต้นข้าวให้แข็งแรงและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ
" เมื่อจัดการ สภาพแวดล้อมทุกอย่างได้ลงตัว ผลสำเร็จที่เห็นได้ชัดๆคือผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าและยังลดการ ใช้น้ำและปุ๋ยลงได้เกือบครึ่งหนึ่ง และนี่อาจเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของโลก เป็นการปฎิวัติระบบการผลิตข้าวที่มีเครือข่ายของชาวนาชาวไร่เป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญ" กร.นอร์แมน กล่าว
นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ SRI กล่าวต่อว่า ข้อแตกต่างที่สำคัญการทำนาวิธีนี้กับแบบเดิมๆ ก็คือการย้ายต้นกล้าตั้งแต่ยังเล็กมากๆและใช้ต้นกล้าแค่หลุมละต้น โดยปลูกอย่างทะนุถนอมห่างๆกันแทนที่จะปักหลุมละหลายๆต้นตามวิธีการเดิมๆ ส่วนน้ำในนาก็ไม่ใช้การท่วมขังแต่แค่รักษาให้มีความชุ่มชื้นตลอด ปรากฎว่าผลผลิตโดยเฉลี่ยของแปลงทดลองอยู่ที่ไร่ละ 1.28 ตัน เพิ่มขึ้นถึง4เท่า ประหยัดน้ำไปได้กว่าครึ่ง และใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวแค่ประมาณ1ใน 10 จากที่เคยใช้
ดร. นอร์แมน อัพฮอฟฟ์ |
เป็นหลักการเดียวกับเกษตรกรรมธรรมชาติที่นอกจากจะเน้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของพืชนั้นๆแล้ว ยังต้องสร้างสภาพแวดล้อมทั้งดิน น้ำ แร่ธาตุ หมุนเวียนให้สมดุล เมื่อรากสมบูรณ์ต้นข้าวก็มีขนาดใหญ่ขึ้น มีรวงมากขึ้นและให้ผลผลิตมากขึ้น นอกจากนี้คุณภาพของดินก็ดีขึ้นเพราะวิธีการดังกล่าวเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการไถกลบเพื่อกำจัด วัชพืชและช่วยให้ดินมีการระบายอากาศดีขึ้น" ดร.นอร์แมน กล่าว
ตัวอย่าง S R I ที่ประเทศพม่า http://sri.ciifad.cornell.edu/countries/myanmar/index.html |
ปัจจุบ้นได้มีการเผยแพร่การทำเกษตรแบบ SRI ไปทั่วโลก โดยใช้สโลแกนว่า “ผลิตให้มากขึ้นด้วยทรัพยากรที่น้อยลง : หนทางใหม่ในการเพาะปลูกข้าว Achieving More with Less : A new way of rice cultivation” เพราะ
1. การใช้กล้าอายุสั้นและปักดำต้นเดียว
2. ต้นกล้าที่มีอายุ 8-12 วัน หรือมีใบเล็กๆสองใบ และยังมีเมล็ดข้าวอยู่ จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตดีและการผลิตหน่อจะมีมาก
3. การใช้กล้าต้นเดียวปักดำ จะช่วยในการแพร่ขยายของราก สามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดีกว่าปลูกกล้าหลายต้น
4. การปักดำให้ปลายรากอยู่ในแนวนอน ปลายรากจะชอนไชลงดินได้ง่ายและทำให้ต้นข้าวตั้งตัวได้เร็ว 5. การปักดำในระยะห่างช่วยให้รากแผ่กว้างและได้รับแสงแดดมากขึ้น ง่ายต่อการกำจัดวัชพืช และประหยัดเมล็ดพันธุ์
ซึ่งแนวคิดดังกล่าว สามารถนำไปปรับใช้กับพืชได้ เช่น อ้อย ข้าวสาลี เรียกว่า System of Crop Intensification – SCI ซึ่งพบว่าการปล่อยให้พืชได้เติบโตเต็มที่ทำให้มีผลผลิตมากขึ้น โดยประเทศที่ทำเสร็จแล้ว เช่น ที่ประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา อัฟกานิสถาน
อุปสรรค S.R.I. อยู่ที่ "ทัศนคติ"?
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า การปลูกด้วยระบบ S.R.I. ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกอย่างต้องทำอย่างประณีตทีละต้นๆ การลงมือทำต้องอาศัยใจที่สำคัญมากๆ เพราะเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและความทุ่มเท ที่สำคัญต้องเข้าใจธรรมชาติพืชเป็นอย่างดีและสามารถยอมรับธรรมชาติการเติบโตของพืชได้
ในเรื่องนี้ ดร.นอร์แมน บอกเช่นกันว่า อุปสรรคสำคัญของวิธี S.R.I. คือ “มันฟังดูดีเกินไป” จนหลายคนไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ นักวิทยาศาสตร์การเกษตรหลายต่อ หลายคนก็คิดอย่างนั้นจึงไม่คิดที่จะนำไปทดลองอย่างจริงจัง อีกทั้งต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนเทคนิคการปลูกข้าวที่มีมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ เช่น การใช้น้ำท่วมวัชพืช การใช้เมล็ดพันธุ์ทำนาน้ำตมไร่ละ 25-30 กม.
ตัวอย่างที่เวียดนาม http://sri.ciifad.cornell.edu/countries/vietnam/index.html |
ดร.นอร์แมนเองยอมรับว่า ตอนแรกก็รู้สึกเคลือบแคลงไม่ต่างจากนักวิชาการคนอื่นๆ แต่พอได้ศึกษาก็พบว่า วิธีการปลูกข้าวแบบS.R.I. สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการเกษตรเชิงนิเวศ (Agro-ecological approach) นั่นคือเมื่อพืชได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวให้เต็มที่ก็ย่อมให้ผลผลิตที่สูงขึ้น และเห็นว่าวิธีการปลูกพืชแบบนี้ สามารถแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมได้ เพราะชาวนาที่มีไร่นาขนาดเล็กสามารถได้ผลผลิตสูงสุดจากพื้นที่ปลูกที่มีจำกัด
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญ S.R.I. บอกว่า ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวสำหรับ S.R.I. เพราะแม้พื้นที่ต่างๆจะใช้หลักการเดียวกัน แต่ชาวนายังต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดินและระบบนิเวศธรรมชาติในแต่ละท้องที่มาปรับปรุงในรายละเอียดจึงจะประสบผลสำเร็จสูงสุด
"สิ่งที่ผมอยากเห็น จากหลักการ S.R.I. ก็คือการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผมเชื่อว่าระบบการปลูกข้าวที่เน้นการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ทางด้านนิเวศวิทยาแบบนี้จะช่วยให้เกษตรกรรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้นโดยเฉพาะในบริเวณที่อาจต้องประสบกับภัยแล้งยาวนานและบ่อยครั้งขึ้น"
ทั้งหมดนี้ เห็นได้ว่า การปลูกข้าวแบบ S.R.I. ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรคนรุ่นใหม่ที่สามารถทดลองทำในแปลงเล็กๆก่อน เช่น กลุ่มชาวนาวันหยุด ที่ได้นำแนวคิดนี้มาต่อยอดเป็นการปลูกข้าวแบบ "เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว" และมีการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรไทยได้รับผลผลิตที่สูงขึ้น โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำลง
ตัวอย่าง ต้นข้าว SRI ของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปลูกข้าวต้นเดียว |
กระบวนการทัศน์ใหม่ในการปลูกพืช
หากในบริบทประเทศไทยก็ควรนำแนวคิดนี้มาปรับปรุงกับพืชไร่ โดยใช้หลักการให้พืชแต่ละต้นแสดงศักยภาพเติบโตอย่างเต็มที่ มีการบำรุงดินด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเป็นอย่างดี แนวคิดดังกล่าว อาจจะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการปลูกพืชทั้งหมดได้ ว่าต่อไปนี้ พืชไร่ ไม่ใช่แค่การหว่านพืชและปล่อยให้พืชโตเองตามชะตากรรมอีกต่อไปแล้ว แต่ต้องดูแลเป็นอย่างดี ทำน้อยแต่ได้มาก
ต้นไม้ทุกต้นต้องการพื้นที่และการเอาใจใส่ เพื่อที่เขาจะได้เติบโตได้อย่างเต็มที่ เต็มศักยภาพ นี่คือการกลับมาเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้งอีกครั้ง หลังจากที่เรามองข้ามพืชไร่ต่างๆมาอย่างยาวนาน ว่าจะปลูกอย่างไรก็ได้ แค่ใส่ปุ๋ย ใส่น้ำ ใส่ยาฆ่าแมลงเท่านั้น ทั้งที่ความจริงแล้ว พืชทุกชนิดมีความผูกพันกับธรรมชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม
เพราะฉะนั้น ถึงเวลาที่เราอาจจะต้องเปลี่ยนการรับรู้ของเราเองเช่นกัน ว่าต้นไม้หรือต้นพืช แม้จะเพียงต้นเดียว ไม่ได้เป็นสิ่งไร้ค่า ไร้ชีวิตอีกต่อไปแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับวิถีเกษตรอินทรีย์ ที่ต้องมีความรักและเข้าใจธรรมชาติอย่างแท้จริง มีความเกื้อกูลต่อกันและกัน
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
- ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว www.applyorganic.com/image/files/0004.pdf
- ปฏิวัติข้าวกับนอร์แมน อัพฮอฟฟ์ http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=16243.0;wap2
- How Millions of Farmers Are Advancing Agriculture for Themselves http://ourworld.unu.edu/en/how-millions-of-farmers-are-advancing-agriculture-for-themselves
- เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว http://bit.ly/1RaCUk1
- ระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยว (System of Rice Intensification, SRI) https://www.gotoknow.org/posts/527238
- http://sri.ciifad.cornell.edu/
ติดตาม ProgressTH.org Facebook ที่นี่ หรือ Twitter ที่นี่
ภาพจากกลุ่มชาวนาวันหยุด |
http://www.posttoday.com/images/news/209242 ชาวนาวันหยุด |
http://www.posttoday.com/images/news/209242 ชาวนาวันหยุด |
ตัวอย่าง SRI จาก ฟิลิปปินส์ http://jobyarandela.blogspot.com/ |
ตัวอย่าง SRI จาก ฟิลิปปินส์ http://jobyarandela.blogspot.com/ |
SRI ของประเทศอินโดนีเซีย http://www.nytimes.com/2008/06/17/science/17rice.html?_r=0 |
SRI ของ จีน http://ourworld.unu.edu/en/how-millions-of-farmers-are-advancing-agriculture-for-themselves |
ด้านซ้ายปลูกด้วยวิธี SRI ด้านขวาปลูกแบบปกติ http://ourworld.unu.edu/en/how-millions-of-farmers-are-advancing-agriculture-for-themselves |