"กุ้งก้ามแดง" อึด ทน ดี แต่แพ้ "สารเคมี" อีกหนึ่งทางเลือกเพิ่มรายได้เกษตรอินทรีย์

16 ม.ค. 2559 - ProgressTH (www.progressTH.org) เมื่อเร็วๆนี้ เราได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง “การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง” โดย แผนกวิชาประมง ที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี ที่ศึกษาวิจัยการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงมานานหลายปี โดยเป็นการบรรยายที่มีเทคนิคการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงต่างๆเยอะมาก


โดยลักษณะเด่นที่สุด ของ  กุ้งก้ามแดง หรือ ล็อบเตอร์น้ำจืด มีนิสัย ทั้ง อีด ทน กินได้ทุกอย่าง เกลียดอย่างเดียวคือ “สารเคมี” เท่านั้น….เพราะถ้าเจอสารเคมีเมื่อไหร่ตายทันที เห็นแบบนี้น่าจะเหมาะกับคนที่ทำเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างมาก เพราะกุ้งก้ามแดงกินทุกอย่าง และชอบมาก คือ ไส้เดือน หอยขม ซึ่งล้วนแต่เป็นสัตว์ที่ชาวเกษตรอินทรีย์น่าจะเลี้ยงไว้ทั้งสิ้น และสามารถต่อยอดด้วยการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงได้เลย

ประวัติคร่าวๆของ กุ้งล็อบสเตอร์น้ำจืด หรือ กุ้งเครย์ฟิช หรือ กุ้งก้ามแดง เป็นกุ้งเนื้อ นั้น โครงการหลวง ได้เริ่มทดลองเลี้ยง ตั้งแต่ปี 2548 โดยนำมาจากออสเตรเลีย นำมาทดลองเลี้ยงในนาข้าวของเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ซึ่งปลูกข้าวกินเอง ผลการทดลองพบว่า กุ้งเจริญเติบโตได้ดี มีอัตราการรอดสูง ไม่ทำลายต้นข้าว เพราะกุ้งก้ามแดงกินพืชและตายแล้ว และมูลของกุ้ง ยังช่วยทำให้ต้นข้าวเติบโตและมีผลผลิตที่ดี



รายละเอียดจากการบรรยายมีเยอะมาก ซึ่งทีม ProgressTH ขอสรุปย่อๆ เพื่อให้เห็นภาพเบื้องต้นดังนี้

  •  กุ้งก้ามแดง มีบุคลิกที่เด่นเป็นพิเศษ คือ เป็นสัตว์เลี้ยงง่าย ชอบความสงบ การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ต้องเลี้ยงแบบใส่ใจแต่ต้องทำแบบห่างๆ คือไม่ต้องไปรบกวนกุ้งมากนัก ยกเว้นช่วงที่มีจะมีการลอกคราบ ต้องมีการเปลี่ยนน้ำเพื่อกระตุ้นการลอกคราบ ซึ่งส่วนใหญ่จะประมาณวันพระ (8,15 ค่ำ) ซึ่งสำคัญมาก  เพราะการลอกคราบหมายถึงการเจริญเติบโต โดยกุ้งจะลอกคราบจะมีในทุกอวัยวะ ยกเว้น “ตา”   ดังนั้น หากเมื่อไหร่ที่พบว่า กุ้งลอกคราบพร้อมมี “ตา” ติดมาด้วย แปลว่า กุ้งของท่านตายแล้ว 
  •  ควรให้อาหารกุ้งตอนหัวค่ำ เพราะกุ้งหากินตอนกลางคืน แต่สำหรับกุ้งก้ามแดง เราสามารถฝึกได้ โดยสามารถให้อาหารตอนกลางวัน เพราะกินมากก็อ้วนเร็วขึ้น แต่ต้องไม่มากและไม่น้อยไป เพราะถ้าน้ำเน่าเสียเมื่อไหร่ น้องกุ้งที่เลี้ยงไว้ และเริ่มตายทันที #แพ้น้ำเสีย #น้ำเน่า และสารเคมี
  •  กุ้งก้ามแดงต้องการพื้นที่ เพราะฉะนั้น พื้นที่เลี้ยงต้องไม่แออัด และมีที่หลบซ่อน อย่าปล่อยให้หิว เพราะอาจจะเกิดโศกนาฎกรรมกุ้งกินกันได้ ถ้าไม่ระวังจะเหลือตัวที่แข็งแรงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งในกรณีสามารถนำไปเป็น พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ได้ เพราะถ้าพ่อแม่แข็งแรงตัวใหญ่ ลูกกุ้งก็จะแข็งแรงเช่นกัน 
น้องๆนักศึกษาพาดูการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ที่แผนกวิชาประมง
  • ที่ชอบที่สุด คือ ล็อบสเตอร์น้ำจืด กินอาหารได้ทุกชนิด โดยธรรมชาติจะกิน อาหารประเภทพืชผัก รากไม้ ใบไม้ ผู้เลี้ยงสามารถให้ มะละกอ กล้วย ถั่วลันเตา ฟักทอง แอปเปิ้ลได้ รวมถึงอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา ไส้เดือน หอยต่างๆ และถ้าจะเลี้ยงเป็นฟาร์มก็สามารถให้อาหารสำเร็จรูปได้ ถ้าเลี้ยงอย่างจริงจัง 3 เดือนก็สามารถจับขายได้ ตัวขนาด 6- 8 นิ้ว ในขณะที่ตัวเต็มวัยที่เหมาะต่อการผสมพันธุ์คือ 6-7 เดือน 
  • อย่างไรก็ตามไส้เดือนอาหารชนิดหนึ่งที่กุ้งชอบมาก เพราะฉะนั้น ใครที่ทำเกษตรอินทรีย์ หรือใครที่เลี้ยงไส้เดือนไว้ ควรขีดเส้นใต้ไว้เลย ว่าเราสามารถเลี้ยงกุ้งก้ามแดงได้ โดยควรเริ่มทดลองเลี้ยงจากจำนวนๆน้อยๆ อาจจะเลี้ยงในกะละมัง กระถาง ก่อนก็ได้เพื่อคัดเลือกพันธุ์และขยายพันธุ์เอง ที่สำคัญจะทำให้เรารู้จักนิสัยของกุ้งชนิดนี้ด้วย เพราะในความเงียบที่กุ้งก้ามแดงชอบหลบซ่อน 
  • แต่ในขณะเดียวกันก็มีนิสัยหวงถิ่น ถ้ามีใครมายุ่มย่ามจะกัดกันทันที เพราะมีกล้ามโตเป็นอาวุธจึงไม่มีใครกลัวใคร ด้วยความเป็นกุ้งที่อึดอยู่ในทุกสภาพแวดล้อมได้ ยกเว้น พื้นที่มีสารเคมีเท่านั้น กุ้งก้ามแดงมักจะซนและซ่า ถ้าได้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ โดยกุ้งก้ามแดงจะชอบปีนขอบสระมาก ถ้าเพื่อนตัวไหนหลุดออกไปได้ เดอะแก๊งส์ทั้งหมดก็จะทยอยหนีไปเที่ยวเช่นกัน ถ้าไม่ระวังๆดีหรือทำบ่อให้ปลอดภัย ตื่นเช้ามากุ้งอาจจะหายหมดบ่อก็ได้


ทั้งนี้มีตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้มก้ามแดง ผสมกับการทำเกษตรอินทรีย์ โดยคุณลุง ประทีป มายิ้ม เกษตรกรเจ้าของ ศูนย์การเรียนรู้ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สวนพออยู่พอกิน บ้านมายิ้ม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี พื้นที่แค่ 1 ไร่ ปีหนึ่งๆทำเงินได้หลายแสนด้วยหลักการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้เต็มที่
    โดยคุณลุงได้แบ่งที่ดินทำบ่อเนื้อที่ประมาณ 11 ตารางวา ก่ออิฐทำเป็นบ่อเลี้ยง 4 กุ้ง 3 ปลา 2 หอย...4 กุ้ง = กุ้งก้ามแดง-กุ้งก้ามกราม-กุ้งแม่น้ำ-กุ้งฝอย ปล่อยลูกพันธุ์อย่างละ 1 พันตัว...3 ปลา = ปลานิล-ปลาตะเพียน-ปลาคาร์พ...2 หอย = หอยขม-หอยโข่ง พื้นบ่อเป็นดินเพื่อจะได้ผสมพันธุ์ออกลูกได้ เลี้ยงกันแบบธรรมชาติ โดยใช้แหน สาหร่าย ผักกระเฉด ผักบุ้ง พร้อมกับปลูกข้าวไม่หวังเก็บเกี่ยวไปขาย ต้องการแค่ให้ใบร่วงไปเป็นอาหารสัตว์น้ำเท่านั้นเอง 1 ปี จะได้กุ้งก้ามแดงให้จับขายประมาณ 1.5 แสนบาท...

      http://www.thairath.co.th/content/536759 1 ไร่ได้หลายแสน ชีววิถี...บ้านมายิ้ม

    กุ้งก้ามกราม ปีหนึ่งจับได้ 2 หน เป็นเงิน 14,000 บาท...กุ้งแม่น้ำได้ปีละหน 2,400 บาท...จับขายเฉพาะตัวใหญ่ ตัวเล็กเก็บไว้เลี้ยงต่อ โตขึ้นได้ขนาดเมื่อไรถึงขาย แถมยังได้มีโอกาสปล่อยให้จับคู่ผสมพันธุ์ออกลูกหลานให้เราเลี้ยงไปขายได้เรื่อยๆ ไม่รู้จบ

    ส่วนเรื่องการตลาดนั้น ทางเครือข่ายฯ ผู้เลี้ยงกุ้งแจ้งว่ามีตลาดรับไม่อั้น เพราะปัญหาทุกวันนี้คือ ยังไม่มีเกษตรกรเลี้ยงกุ้งเนื้ออย่างจริง เพราะส่วนใหญ่ตอนนี้ผู้เลี้ยงจำนวนมาก เลี้ยงเพื่อขยายพันธ์ุ ดังนั้น เรื่องการส่งออก เรื่องการตลาดจึงต้องการผู้ที่สนใจเลี้ยงกุ้งชนิดนี้อีกเป็นจำนวนมาก โดยหากเพื่อนๆ ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน อย่างไร สามารถสอบถามที่แผนกวิชาประมง ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี ได้เลย

      http://www.thairath.co.th/content/536759 1 ไร่ได้หลายแสน ชีววิถี...บ้านมายิ้ม











    ขอบคุณภาพจาก วษท.เพชรบุรี เกษตรจอมพล อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี https://www.facebook.com/pksjompon

    ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.farmthailand.com/518  เทคนิคการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง กุ้งเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ตลาดต้องการ


    เวอร์ชั่น ภาษาอังกฤษ Learning About Crayfish Aquaculture
    ติดตาม  ProgressTH.org   Facebook ที่นี่ หรือ Twitter ที่นี่