ก่อนอื่นถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องยอมรับว่่า “งานในวันนี้” แตกต่างจาก “งานในอดีต” เพราะจากนี้ไปจะไม่มีงานใดที่สามารถทำงานเดียวได้ทั้งชีวิตต่อเนื่องยาวนาน 40 ปี แบบในอดีตจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว เพราะจากนี้ไประยะเวลาของการทำงานจะอยู่ที่ประมาณ 4.2 ปี เท่านั้น เพราะฉะนั้น จำเป็นต้องมีการเพิ่มทักษะและปรับปรุงทักษะการทำงานต่างๆ ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
รายงาน “การเพิ่มทักษะแรงงาน” ของ World Economic Forum ปี 2017 ชี้ว่า 1ใน4 ของคนทำงานในปัจจุบันยอมรับว่าทักษะในการทำงานที่มีอยู่ทุกวันนี้ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดงาน
เมื่อรูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป…
โดยการทำงานส่วนใหญ่ยังเป็นงานที่ยึดติดกับยุคเก่า คือ ศตวรรษที่ 19 และ ศตวรรษที่ 20 ที่ถูกครอบงำโดยระบบโรงงาน คือการทำงานตามคำสั่งและตามสายบังคับบัญชา และระบบการศึกษาก็ออกแบบให้คนอยู่ในกรอบระเบียบและเป็นพนักงานโรงงานที่ดี โดยมีผู้จัดการคอยประสานเพื่อทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะที่งานในศตวรรษที่ 21
หรือในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบใหม่
ที่มีขนาดองค์กรเล็กลงและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (Agile)
ขณะที่พนักงานก็จะมีความอิสระ หรือที่เรียกว่าเป็น Freelance
ที่สามารถทำงานจากทางไกลทุกที่ในโลกได้
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ระบบการศึกษายังไม่สามารถปรับตัวทันได้ ยังคงเน้นเรียนจบปริญญาตรี 4 ปี แม้จะมีการฝึกอบรมต่างๆก็ยังไม่เพียงพอ เพราะตลาดแรงงานยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มคุณภาพ (Talent)มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2550
ดังนั้นจำเป็นอย่างที่เราต้องมีการเพิ่มทักษะให้ตัวอย่างต่อเนื่อง
เพื่อปรับปรุงความสามารถของเราให้ตรงกับที่ตลาดแรงงานต้องการ โดยเริ่มจากการถามตัวเองว่า
ทักษะที่มีอยู่ยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานหรือไม่
เพื่อที่จะทำให้เรายอมรับและพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวเอง
ซึ่งหมายถึงการเพิ่มรายได้ให้กับตัวเองในอนาคตด้วย
อย่างไรก็ตามสำหรับช่วงที่หลายคนรู้สึกว่าโลกทุกวันนี้กำลังถูกคุกคามด้วยภัยจากเทคโนโลยี โดยเฉพาะจาก หุ่นยนต์ (Robotics) และ AI ( Artificial Intelligent) ซึ่งนับจากนี้ไปจะเป็นคำที่เราได้ยินกันอย่างต่อเนื่อง เพราะจะเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกๆในอีก 10 ปีข้างหน้า
โดยเทคโนโลยีเหล่านี้อยู่ในรูปของรถยนต์อัตโนมัติไร้คนขับ
Self-Driving Car ซึ่งจะทำหน้าที่แทนคนขับรถบรรทุก
คนขับแท็กซี่ ขณะที่หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานในโรงงานต่างๆ
รวมถึง Drone จะทำหน้าที่เป็นบุรษไปรณีย์ส่งของ/สัมภาระ ไปตามที่ต่างๆ และที่สำคัญที่สุด AI
จะเข้ามาทำงานแทนพนักงานออฟฟิศ
รู้จัก 7 สาขาอาชีพสร้างรายได้ใน ศตวรรรษที่21
ทั้งนี้ Josh
Elman
ซึ่งเป็นนักลงทุนคนสำคัญในบริษัทเทคโนโลยีใน Silicon valley
ได้เปิดเผยว่ามีงาน 7 ประเภท ที่ในอนาคตจะเป็นที่ต้องการและสามารถทำเงินได้มหาศาล เพราะทุกวันนี้บริษัทต่างๆ ได้ทุ่มเททรัพยากรเพื่อวิจัยและพัฒนาอ
(Research and Development: R&D)อยู่
ได้แก่
1) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence )
2) เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง (Augmented reality)
3)
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual reality)
4 เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drones)
5) หุ่นยนต์ (Robotics)
6) การศึกษาพันธุศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต (Genomics)
7) เทคโนโลยีการเชื่อมต่อสมองของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ Brain-machine interfaces (BMI)
เปิด 13 นวัตกรรม รับมืองานเทคโนโลยี 4.0
ทั้งนี้ 7อาชีพดังกล่าวสามารถเข้าถึงและเตรียมพร้อมเพื่อความรู้เท่ากันและสามารถนำเทคโนโลยีในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่
4 มาใช้ประโยชน์ โดยมี 13 สาขาการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1.AI หรือปัญญาประดิษฐ์ เพื่อทำให้หุ่นยนต์ฝเครื่องจักรฉลาดมากขึ้น เหมือนสมองของมนุษย์ (Machine Learning, Deep Learning และ Neural networks)
2. การเรียนเกี่ยวก้บการสร้างภาพเสมือนจริง Augmented reality/mixed reality
3. การสร้างโลกเสมือนจริง Virtual reality
4. Drones การใช้ โดรนในรูปแบบต่างๆ ทั้งการบิน การขับ การเดิน และ การว่ายน้ำ
5. หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อใช้ในโรงงาน ในโครงการทดลองวิทยาศาสตร์ต่างๆ การฝึกให้เป็นผู้ช่วย และในรูปแบบอื่นๆที่หุ่นยนต์สามารถเข้ามามีบทบาทในชีวืตของเราได้
6. ด้านพันธุกรรม/พันธุศาสตร์ (Genomics) การเรียนรู้การทำงานของ DNA ของสิ่งมีชีวิต เพื่อพัฒนาให้แข็งแรงขึ้น
7. การเชื่อมต่อสมองคนกับคอมพิวเตอร์ Brain-machine interfaces เป้าหมายคือ เพื่อให้สมองสามารถเก็บข้อมูลและประมวลผลได้รวดเร็วแบบ AI
8. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล Data science เรียนรู้เรื่องการทำความเข้าใจ/จัดการ/ลบทำความสะอาดข้อมูล อย่างมีประสิทธิภาพ
9.Blockchain เทคโนโลยีที่ใช้ในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องผ่านบุคคลที่สาม ซึ่งจะมีความโปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือได้มากกว่า
10. Internet of things คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต
11. Nanotechnology คือ เทคโนโลยีประยุกต์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการ การสร้าง การสังเคราะห์วัสดุหรืออุปกรณ์ในระดับของอะตอม โมเลกุลหรือชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก ซึ่งจะส่งผลให้วัสดุหรืออุปกรณ์ต่างๆ มีหน้าที่ใหม่ๆ และมีคุณสมบัติที่พิเศษขึ้นทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ทำให้มีประโยชน์ต่อผู้ใช้สอยและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้
12. Quantum computing คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนจากการทำงานบนแผงวงจร มาใช้คุณสมบัติพิเศษของอะตอมแทน และประมวลผลที่เร็วมหาศาล
13. 3D printing คือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งเป็นนวัตกรรมการพิมพ์ที่ทำให้งานที่คุณคิดหรือออกแบบไว้ ถูกผลิตออกมาได้อย่างสมจริงมีรูปลักษณ์ สามารถจับต้องได้ รวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงพัฒนาศักยภาพ “มนุษย์” ให้สูงที่สุด
ทั้งหมดเหล่านี้แม้จะไม่ใช่อาชีพโดยตรง แต่เป็นความรู้และนวัตกรรมที่จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอนาคตข้างหน้าโดยตรงและจะเป็นประโยชน์ในภายภาคหน้าสำหรับผู้ที่เตรียมความพร้อมนี้ก่อน เพราะมันคือ กุญแจ ที่จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์และได้ใช้ศักยภาพของเราแบบที่ไม่เคยมามีมาก่อน
ทั้งนี้ในอนาคตเมื่อ AI ได้จับคู่กับหุ่นยนต์คงก็จะมีการพัฒนาตัวเองในระดับสูงสุด และอาจจะไม่จำเป็นต้องพึ่งพา “คน” มากนัก นับเป็นโจทย์สำคัญให้เราต้องเรียนรู้เท่าทันเทคโนโลยีเหล่านี้ เพื่อให้เราปลอดภัยจาก “ระบบอัตโนมัติ” ที่ไร้ซึ่งการควบคุมนั่นเอง
ซึ่งในเรื่องนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง
บริษัท และ ผู้กำหนดนโยบาย
ต้องตื่นตัวในเรื่องนี้ด้วย
โดยบริษัทควรเสนอการฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับพนักงานทุกคนทั้งพนักงานและอิสระเพื่อให้พนักงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทำโครงการของตัวเองได้
ขณะที่รัฐบาลควรมีการลงทุนในทักษะแรงงานเพื่ออำนวยความสะดวกระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดอบรมโปรแกรมการฝึกงานและการฝึกงานและการฝึกอาชีพที่เตรียมความพร้อมให้กับเยาวชน สำหรับงานที่ไม่จำเป็นต้องได้รับปริญญา แต่สำหรับอุตสาหกรรมที่มีความเฉพาะเจาะจงโดยเฉพาะในด้านดิจิทัล
สำหรับพวกเราทุกคนก็ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ดูมองไปข้างหน้าว่า 5 ปีจากนี้ไป ทักษะที่มีอยู่จะยังเพียงพอหรือไม่ ทั้งนี้ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนทักษะตัวเองได้ในเพียงข้ามคืน ทุกอย่างต้องเริ่มจากกการจัดลำดับความสำคัญ เพราะไม่ว่าเราจะเป็นพนักงานขับรถหรือเป็นนักวิทยาศาสตร์ ก็มีสิทธิที่จะตกงานได้ทั้งสิ้น ความปลอดภัยของงานในยุคศตวรรษที่ 21 คือ การมีทักษะใหม่ๆ เพื่อพัฒนาศัภยภาพตัวเองในการทำงานนั่นเอง
###