Cr. https://worldliteracyfoundation.org/ |
11 สิงหาคม 2563- ProgressTH - ธัญณิชา (กาติ๊บ) เหลิมทอง
โควิด19 นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างในชีวิตที่เราสามารถรู้สึกและมีประสบการณ์ด้วยตัวเองกัน โดยเฉพาะมาตรการ Social Distancing ซึ่งกลายเป็นวิถีใหม่ (New Normal) ไปแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเชิงปัจเจกและสังคมที่เราจะต้องพยายามปรับตัวกันให้ได้ ซึ่งสังคมไทยก็ถือว่าทำได้ดีและหวังว่าจะดีแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพราะโควิด19 น่าจะอยู่กับเราไปอีกนาน
อย่างไรก็ตามมีหนี่งเรื่องที่เราไม่สามารถมองข้ามได้และต้องมีการ “ปรับตัว” อย่างเข้มข้น นั่นก็คือ เรื่องการศึกษา ที่เราไม่สามารถปล่อยให้เป็นแบบเดิมได้ เพราะโลกเปลี่ยนไปแล้วการศึกษาต้องเปลี่ยนตามให้ทันโลกด้วย
ทั้งนี้ World Economic Forum ได้เสนอบทความที่น่าสนใจเรื่อง “4 Things young people want from Education in the Future” ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางให้ประเทศไทยพิจารณาในเรื่องนี้ได้ว่า ในอนาคตเราจะมีทิศทางในการเปลี่ยนแนวทางการให้การศึกษากับคนรุ่นใหม่ยุคนี้อย่างไร เพื่อให้เขาได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้มากที่สุด เพราะวิกฤตโควิด 19 ที่เกิดขึ้นทำให้เด็กและเยาวชนทั่วโลกต้องออกจากโรงเรียน และ นักศึกษาจบใหม่หลายล้านคนไม่สามารถหางานทำได้
ดังนั้น ช่วงเวลานี้ ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการปฏิรูปแนวทางการให้การศึกษาและเพิ่มทักษะที่สำคัญให้เด็กๆ ในการรับมือกับโลกที่หมุนเร็วและต้องเจอกับภาวะโรคระบาดแบบนี้ได้ โดย
1.ต้องเป็นทักษะสมัยใหม่ ไม่ใช่หลักสูตรเก่าอีกเดิมอีกต่อไปแล้ว ( Modern skills, not old fashioned curricula) เรื่องเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ควรตระหนักว่า การสอนเรื่อง เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทักษะสมัยใหม่ เป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อให้เด็กๆนำไปใข้ได้ในขีวิตจริง ซึ่งในส่วนนี้ภาคธุรกิจอาจจะเข้ามาทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย เพื่อการผลิตคนออกสู่ตลาดได้อย่างมีคุณภาพได้
2.Soft Skills คือหัวใจสำคัญ (Soft Skills are keys) กล่าวคือ ทักษะด้านอารมณ์ ความรู้สึก การเข้าสังคม รวมทั้งการสื่อสาร เป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเด็กๆน้องนักศึกษาการทักษะเหล่า ที่สำคัญคือ ทักษะ Advocacy/ Campaign หรือการผลักดันนโนยายสู่สาธารณะและผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งไม่มีที่ไหนสอนมาก่อน แต่ในชีวิตจริงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อที่พวกเขาจะได้เสนอ ผลักดัน และเป็น Change Agent ให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
ดังนั้น ต้องมีการให้การศึกษาเรื่องการสร้างพลเมือง (Civic Education) คนรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้เรื่องเป็นการเป็นพลเมือง รู้เท่าทันการเมืองและการเข้าถึงกระบวนการออกนโบบายสาธารณะ การเขียนคำร้องเรียน การเขียนคำรณรงค์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในทางการเมือง และธุรกิจ เพราะจะทำให้เกิด Design Thinking รวมถึง Critical Thinking ได้มากขึ้น
3.การเรียนออนไลน์คงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (Digital Connectivity and digital Learning) ต้องมีการใช้ออนไลน์ทั้งการเรียนและการทำงาน เพราะฉะนั้นการเรียนการสอนในอนาคต้องมีการนำออนไลน์มาใช้มากขึ้น ซึ่งถ้าเราสามารถทำให้ทุกหนทุกแห่งเข้าถึงออนไลน์ได้ ก็เชื่อได้ว่าสังคมของเราจะเป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำน้อยลงและมีความเป็นธรรมมากขึ้น
4.การศึกษาต้องเอื้อและเข้าถึงกลุ่มคนที่เปราะบาง/ด้อยโอกาส (Reach vulnerable communities) การสึกษาไม่ควรแค่จำกัดอยู่ที่ห้องเรียนเท่านั้น แต่ควรกระจายไปพื้นที่ห่างไกลด้วย ที่ไม่มีทรัพยากรด้วย ซึ่งภาครัฐ และ เอกชนต้องไม่ลืมกลุ่มคนเหล่านี้ อย่างเช่นเรื่องฝึกงาน นักศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็ควรได้รับโอกาสนี้ด้วย ซึ่งในอนาคต เด็กเยาวชน คนรุ่นใหม่ทุกคน ควรที่จะมีความฝันและทักษะต่างๆ โดยที่ไม่รู้สึกว่ามีขีดจำกัดเรื่องสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ (That there is no skill that is unreachable because of who you are or where you are.)
ทั้งหมดนี้เป็น 4 แนวทางหลักเบื้องต้น ในการจัดการศึกษาเพื่ออนาคค ซึ่งสามารถเริ่มทำได้จากวันนี้ได้เลย
####