เก็บตกสุนทรพจน์ "โจ ไบเดน" ยึด "เอกภาพ"ลดความ "แตกแยก" แก้ปัญหาการเมืองสหรัฐแต่สะเทือนถึงไทย??

 

Image by klimkin from Pixabay  (Flower) 


22 ม.ค. 2564 - ProgressTH.org  by  Katibza 

หมายเหตุ -   บันทึกเล็กๆเก็บตกพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 46  โจ  ไบเดน ( Joe Biden)  เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2564  ซึ่งผู้เเขียนเห็นว่าเนื้อหาสุนทรพจน์บางส่วนของประธานาธิบดีสหรัฐ  สามารถเป็นข้อคิดทางการเมืองให้กับประเทศไทยและทั่วโลกได้ 

ทั้งนี้ภาพรวมของสุนทรพจน์เหมือนเป็นการกล่าวเพื่อสมานรอยร้าวความแตกแยกของประเทศ   ฟังดูแล้วเหมือนสถานการณ์ไม่ต่างกับประเทศไทยมากนัก ในเรื่องความแตกแยกทางความคิดทางการเมืองที่ฝังรากลึก รวมถึงประเด็นเรื่องประชาธิปไตย ที่เป็นปัญหาของหลายประเทศเช่นกันรวมถึงประเทศไทยด้วย 

เช่นเดียวกับนักวิเคราะห์ที่เห็นตรงกันว่าแม้ว่าโจ ไบเดน จะกล่าวถึงปัญหาภายในประเทศ แต่ก็เป็นการส่งสารถึงทั่วโลก เพราะบริบทที่ไบเดนพูดถึงเรื่องความแยกของประเทศและปัญหาประชาธิปไตยนั้น ขณะนี้ถือว่าเป็นปัญหาของหลายประเทศทั่วโลก

ข้อความหลักที่สำคัญในสุนทรพจน์ครั้งนี้ จึงเป็นเรื่อง  "ความสามัคคี/ความเป็นอันหนึ่อันเดียวกัน"/ความมีเอกภาพ (Unity)  โดยเฉพาะกับข้อความที่ว่า 

“Without unity there is no peace, only bitterness and fury. No progress, only exhausting outrage. No nation, only a state of chaos.”

“หากปราศจากความสามัคคี/ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็คงไม่มีสันติภาพ มีเพียงความขมขื่นและความโกรธเกรี้ยว ไม่มีความคืบหน้า มีแต่ความชั่วร้ายที่เหนื่อยล้า ไม่มีรัฐไม่มีประเทศ  มีความโกลาหล”

Inauguration 2021 in 180 seconds by Politico.com

ปรากฎการณ์การบุกตึกรัฐสภาของสหรัฐเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564  ที่ผ่านมา  ถือเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญที่ทำให้มีคำถามว่า เกิดอะไรกับสหรัฐ การเมืองสหรัฐมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร 

 และคำตอบก็ชัดเจนกับสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน  ที่ชี้ให้เห็นว่าสหรัฐมีปัญหาความแตกแยกทางการเมืองสูงมาก  โดยเฉพาะกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ที่มีการประท้วงไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง จนนำไปสู่การบุกรัฐสภาเกิดขึ้น 

หากไม่โกหกตัวเองกันมากเกินไป ในฐานะคนไทย เราสามารถบอกได้ว่าเราเองก็คุ้นเคยกับภาพแบบนั้น เพราะปัญหานี้ก็เกิดขึ้นที่ประเทศไทยเช่นกัน  ทั้งการบุกทำเนียบ การบุกรัฐสภา  การชุมนุมประท้วงที่มีความรุนแรงต่างๆ หลายรูปแบบ 

อย่างไรก็ตามไม่มีความจำเป็นใดๆที่เราจะต้องรายละเอียด เพราะสิ่งที่ควรคิด คือ เรื่องการหาทางออก ( Solutions) จากปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่า ซึ่งแน่นอนว่าทุกอย่างต้องใช้เวลา ซึ่่่งว่ากันว่าของสหรัฐเองอาจจะต้องใช้เวลามากกว่าประธานาธิบดี 2-3 คน หรือคิดเป็นประมาณ 25 ปี ซึ่งเป็นวงรอบของการแก้ปัญหาความมแตกแยกลักษณะแบบนี้ 

อย่างไรก็ตาการส่งสัญญานด้วย  Mood/Tone ที่ถูกต้องก็เป็นเรื่องสำคัญ  ซึ่ง ไบเดน ถือว่าทำได้ดีในเวลาที่มีวิกฤตแบบนี้ที่ไม่ตอกย้ำปัญหาให้ยิ่งแย่กว่าเดิมไปอีก 

ในเรื่องนี้ ไบเดน เองยังยอมรับว่า  พูดถึงเรื่อง  Unity ตอนนี้ก็เหมือนกับเป็นเรื่องแฟนซีโง่ๆ เพราะปัญหานี้หยั่งรากลึกและเป็นปัญหาที่มีอยู่จริง 

 “๊Unity can sound to some like a foolish fantasy these days. I know the forces that divide us are deep and they are real.” 

ณ จุดนี้  Biden พยายามเรียกร้องให้ชาวอเมริกันมองหาสิ่งที่ทำให้พวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกัน แทนที่จะยึดติดกับสิ่งที่แบ่งแยกพวกเขา (Look to what unifies them rather than fixate on what divides them) 

ที่น่าสนใจไปมากกว่านั้นสุนทรพจน์ครั้งนี้ของไบเดน ยังมีบางพาร์ทที่เป็นการขอความร่วมมือจากอเมริกันชน เหมือนกับสมัยที่ John F. Kenedy เคยกล่าวไว้ช่วงขึ้นรับตำแหน่งปี 1961 ซึ่งเป็นยุคสงครามคอมมิวนิสต์  ซึ่งในตอนนั้นประชาชนต่างรู้สึกไม่มั่นคง จน JFK ได้กล่าวประโยคที่เป็นที่จดจำของทั่วโลกมาจนถึงทุกวันนี้ว่า 

"อย่าถามว่าประเทศทำอะไรให้เราได้บ้าง แต่จงถามว่าเราสามารถทำอะไรให้ประเทศได้บ้าง" And so, my fellow Americans: ask not what your country can do for you–ask what you can do for your country.

ขณะที่่ปี 2021 หรือ 60 ปีผ่านไป  ไบเดน ได้เรียกร้องให้คนอเมริกา  "ควรที่จะเริ่มรับฟังกันและกัน เคารพซึ่งกันและกัน เพราะการเมืองไม่จำเป็นต้องเป็นไฟที่โหมกระหน่ำทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้า

Begin to listen to one another again. Hear one another, see one another, show respect to one another. Politics doesn’t have to be a raging fire destroying everything in its path.

ซึ่งก็หมายความตามนั้นว่าเราควรมีการพูดคุยกัน รับฟังกัน ซึ่งนั่นก็คือ การ  Dialogue ซึ่งเป็นวิธีเยอรมันใช้ในการสร้างชาติหลังจากที่กำแพงเบอร์ลินพังลงตอนปี 1989 นั่นเอง 

นั่นคือ การพูดคุย การสนทนา เพื่อให้รู้ความต้องการของทั้งสองฝ่าย  ให้เขารู้ว่าเราคิดอย่างไร และให้เรารู้อีกเช่นกันว่าเราคิดอย่าง ต้องมีการพูดคุยกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะสามารถหาจุดที่ยอมรับร่วมกันได้ 


Image by Gerd Altmann from Pixabay 

นอกจากนี้อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของงานในวันนั้น คือ บทกวีของ Amanda Gorman สาวน้อยนักกิจกรรมทางการเมือง เรื่อง  The hill we climb หรือเทือกเขาที่เรากำลังปีนป่าย  ซึ่งมีนัยยะที่ขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละคน  

แต่ในที่นี้ (ผู้เขียน) ตีความถึง ความพยายามในการทำให้ประเทศกลับมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้ง  ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะยอมแพ้ 

โดยเฉพาะกับคำว่า 

"Somehow we've weathered and witnessed a nation that isn't broken, but simply unfinished" 

ดูเหมือนว่าเราได้ผ่านร้อนผ่านหนาวกันมา แต่ก็ได้เห็นว่าประเทศยังไม่ได้แตกสลาย เพียงแต่ยังไม่สมบูรณ์เท่านั้น 

"And so we lift our gaze, not to what stands between us, but what stands before us.

ดังนั้น เราได้มองอย่างพินิจพิเคราะห์ ไม่ใช่เพื่อดูสิ่งที่อยู่ "ระหว่าง" เรา แต่เป็นสิ่งที่ "อยู่ตรงหน้า" 

We close the divide because we know to put our future first, we must first put our differences aside. 

เราเลือกที่จะปิดช่องความแตกแยกนี้ เพราะเราเลือกที่จะวางอนาคตของเราไว้ก่อนเป็นอันดับแรก และวาง "ความแตกต่าง" ไว้ก่อน

We lay down our arms so we can reach out our arms to one another. We seek harm to none and harmony for all."
เราอ้าแขนของเราเพื่อให้เอื้อมถึงกันและกันเพื่อสร้างความสามัคคีร่วมกัน 

The new dawn blooms as we free it, "For there is always light,
รุ่งอรุณของวันใหม่ หรือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยังมีขึ้นเสมอถ้าเราไม่ยึดติดกับความอคติที่มีอยู่  สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ

 if only we're brave enough to see it
 if only we're brave enough to be it.
ถ้าเรากล้าที่เห็นมันและเข้าใจมัน และ ถ้าเรากล้าหาญพอที่จะทำให้มันเกิดขึ้นจริง 

จะเห็นได้ว่า เมื่อเราได้พิจารณาอย่างลึกซึ้ง หลายถ้อยคำในงานของวันนั้น สามารถนำมาปรับใช้กับบริบทของคนไทยได้ ถ้าเราเปิดใจกว้างเพียงพอ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ใช้เวลาเพียงข้ามคืน 

แต่ก็ควรเป็นเรื่องที่เราควรมีเรื่องเหล่านี้ตั้งอยู่ในพื้นฐานของส่วนลึกในจิตใจของเราบ้าง ถ้าเราอยากเห็นประเทศของเรามีความสามัคคีและเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง 

ติดตาม  ProgressTH.org   Facebook ที่นี่ หรือ Twitter ที่นี่