"Rebuilding Trust " กับ การจัดการCovid19 เป้าหมายที่ต้องไปให้ถึง!!!

 24 ม.ค.  2564 -  ProgressTH.org  - By Katibza

การประชุมประจำปีของ  World Economic Forum (WEF) หรือ Davos meeting ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้และยาวทั้งสัปดาห์ (วันที่ 25- 29  ม.ค.นี้) เป็นการประชุมที่ผู้นำภาครัฐ และ เศรษฐกิจ สังคม และ สื่อมวลชน ชั้นนำของโลก มารวมตัวกันเพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นสำคัญๆ และวิกฤตต่างๆ ที่โลกกำลังเผขิญ เพื่อลดผลกระทบยจากปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงสร้างประโยชน์จากโอกาสต่างๆที่มีอยู่ให้มากที่สุด 

ทั้ง Theme ในการประชุมในปีนี้คือ " Crucial Year to Rebuild Trust" หรือ  "ปีแห่งการสร้างวามเชื่อมั่น/ไว้ใจ"  ซึ่งมีนัยยะเกี่ยวข้องกับการรับมือโควิด19 ซึ่งเป็นวิกฤตที่หนักที่สุดของโลกในรอบ 75 ปี หรือนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2  ( ปี 1945) 

เราทุกคนทราบกันดีกว่าปีที่ผ่านมาจนกระทั่งงตอนนี้   โควิด19 นำมาซึ่่งความสูยเสียทั้งต่อชีวิตผู้คนที่เสียชีวิตกว่า 2 ล้านคน และผู้ติดเชื้อทั่วโลกเกือบ 100 ล้านคน อีกทั้งยังนำมาซึ่งการเปลี่ยนทางวิถีชีวิตที่ยากที่จะกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้  

โดยเฉพาะกับปรากฎการณ์ Lock Down ทั่วโลกที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่าง นำมาซึ่ง "ความเหลื่อมล้ำ" และ "ความไม่เท่าเทียม"  (Inequality)ทางสังคม ซึ่งเป็นปัญหาเดิมอยู่แล้วทวีความรุนแรงมากขึ้น  ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนต้องมีการปรับปรุงแก้ไข โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมให้มี "ความเป็นธรรม" มากขึ้น 

ทำไม Rebuilding  Trust  สำคัญ?

อาจารย์ เคลาส์  ชวาป ผู้ก่อตั้ง WEF กล่าวว่า  ในบริบทของการระบาดโควิด19 ที่เกิดขึ้น  เราต้องทำให้เรื่องการปฏิรูประบบต่างๆของโลกมีความเข้มแข็งมากกว่าเดิม การสร้างความไว้วางใจและการเพิ่มความร่วมมือระดับโลกเป็นสิ่งสำคัญ ในการส่งเสริมการแก้ปัญหาและหานวัตกรรมที่จะมา ที่จะยับยั้งการแพร่ระบาดและขับเคลื่อนการฟื้นตัว(ทางเศรษฐกิจ)อย่างแข็งแกร่ง  การประชุมครั้งนี้จะเป็นโอกาสสำหรับผู้นำในการร่างวิสัยทัศน์และแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดในยุคของเรา ซึ่งรวมถึง เรื่องการจ้างงาน และการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วย

ทั้งนี้เมื่อได้พิจารณาจาก ชื่อ Themeของงาน ในเรื่องของ Rebuild Trust นั้น  เป็นเรื่องสำคัญมากและเป็นปัจจัยสำคัญแรกๆที่จะทำให้การต่อสู้และรับมือกับวิกฤตโควิด19 ได้สำเร็จ 

โดยเฉพาะ  การให้ "ความเชื่อมั่น"ต่อรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่นเดียวกับ "ความร่วมมือร่วมใจ" อย่างมีเอกภาพของประชาชน  เพราะการต่อสู้กับโควิด19 ต้องมีเอกภาพ เพราะไวรัสนั้นไม่มีพรมแดนและสามารถกระจายได้ทุกพื้นที่ทั่วโลก 

ทั้งนี้ประเทศไทย ถือเป็นตัวอย่างที่ดี ที่แสดงให้เห็นว่า "ความเชื่่อมั่น" ของประชาชนต่อรัฐบาลมีความสำคัญมาก  โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ซึ่งหากเราได้มองย้อนปฏิบัติการสู้โควิด19 ของไทย ที่ทำได้ดีจนได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลกว่าหลายประเทศควรทำแบบประเทศไทย 

ความเชื่อใจ และ มั่นใจที่ว่านี้คือ ประชาชนต้องเชื่อมั่นว่า ทุกการตัดสินใจของรัฐบาลในช่วงวิกฤต จะต้องเป็นไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน และไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เพราะเรากำลังพูดถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม และไม่มีการันตีว่าจะมีความเป็นรูปธรรมเกิดชึ้นหรือไม่อย่างไร 

Rebuilding Trust กับบทเรียนของไทย 

แต่ในกรณีของประเทศไทย  เราได้ก้าวข้ามข้อกังขานี้  และมุ่งหน้าให้ความร่วมมือร่วมใจ ทำตามการขอความร่วมมือจากรัฐบาล โดยเฉพาะกับการ "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ"  ที่ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้เราไม่มีภาพการประท้วง Lock Down เหมือนในหลายประเทศ โดยเฉพาะแถบอเมริกาและยุโรป  ที่มีการประท้วงรัฐบาล จนนำมาสู่คำสั่ง  Lock Down ที่เข้มงวดและยากไปกว่าเดิมด้วยซ้ำ 

 ผิดกลับประเทศไทย ที่ถึงยามวิกฤต คนส่วนใหญ่ของประเทศ เลือกที่จะยอมรับและปฏิบัติตามแนวทางของรัฐบาล ทำให้การ Lock Down ของประเทศไทย ไม่เข้มงวดมากนัก (Soft Lockdown) นั่นก็คือ ประชาชนสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ แต่ไม่มีการรวมกลุ่ม มีการเว้นระยะห่างและรักษาความสะดาด สวมหน้ากากอย่างเคร่งครัด 

ผลจากความร่วมมือร่วมใจ   ความอดทน อดกลั้น ต่อความยากลำบาก และความมีวินัย ในยามวิกฤตของคนไทย ทำให้เราสามารถลดการระบาด (Flatten The Curve) จากการติดเชื้อวันละเป็นร้อยๆ คน สู่การติดเชื้อเป็นศูนย์ ได้ในที่สุด และรักษาสถิตินี้ได้นานหลายเดือน  

จนกระทั่งล่าสุด มีการระบาดรอบที่2 หรือการระบาดระลอกใหม่ (Second Wave) ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา  ที่ส่วนใหญ่มาจากแหล่งอบายมุข  เช่น บ่อนการพนัน รวมถึงการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านของเรา  ซึ่งผลมาจากความความไม่มีรับผิดชอบของประชาชนคนไทยด้วยกัน  ความหละหลวมของเจ้าหน้าที่รัฐ 

การเกิดโควิด19 รอบที่สอง ได้ทำลายเศรษฐกิจไทยอย่างย่อยยับ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ที่เป็นช่วง Hight Season ซึ่งผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและการบริการของไทยประเทศไทย ต่างรอคอยช่วงเวลานี้ หลังจากที่ต้องอยู่ในภาวะร้างและเงียบมาเกือบปี  ต้องกลับมาเจอความยากลำบากอีกครั้ง ทั้งที่สถานการณ์ก่อนหน้านั้นกำลังดีขึ้นตามลำดับ 

ดังนั้น คำว่า " Rebuilding Trust" จึงมีความสำคัญอย่างมาก แม้แต่ในบริบทประเทศเล็กๆอย่างประเทศไทย ที่ประชาชนผิดหวังต่อการทำงานของรัฐบาลที่ไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) เอาผิดผู้กระทำผิดอย่างเต็มที่ และมีการละเลย ซึ่งหากเป็นแบบนี้ต่อไป ก็สามารถเกิดโควิด19 ระลอกใหม่ ได้ขึ้้นเรื่อยๆ  เหมือนที่เรากำลังเจออยู่ 

Rebuilding Trust กับ ความท้าทายของโลก 

คำว่า   " Rebuilding Trust" ยังสำคัญต่อโลก ซึ่งภารกิจสำคัญในปีนี้ของทุกประเทศ คือ เรื่องการแจกจ่ายวัคซีนเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโควิด19 

แต่ปัญหาคือ ก็ยังมีประชาชนจำนวนมาก "ไม่ไว้ใจ/ไม่มั่นใจ"  วัคซีน ว่าจะมีประสิทธิภาพจริงหรือ เพราะมีคำถามว่า ในเมื่อยังไม่รู้ว่า โควิด19 เกิดจากไวรัสอะไร แล้วจะผลิตวัคซีนที่ตรงกับเชื้อได้อย่างไร  นี่คือความไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้น 

ดังนั้น นี่คือความท้าทายที่เกิดขึ้น ว่าในบริบทที่เราทุกคนทั้งในฐานะพลเมืองของประเทศและของโลก  เราจะ " Rebuilding Trust" ได้อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากเราสามารถทำได้  การต่อสู้กับวิกฤตโควิด19 และการฟื้นฟูโลกจากวิกฤตก็คงเป็นเรื่องที่เราสามารถไปถึงจุดมุ่งหมายนี้ได้ 

ทั้งหมดนี้  ต้องติดตามว่าการประชุม Davos ที่จะมีขึ้นในอาทิตย์หน้า  อาจจะสามารถมีแนวทางและยุทธศาสตร์ในการ " Rebuilding Trust" ที่สามารถนำไปใช้และเกิดเป็นความร่วมมือร่วมใจของคนทั่วโลกในการรับมือ/ต่อสู้กับโควิด19 ได้  

ติดตาม  ProgressTH.org   Facebook ที่นี่ หรือ Twitter ที่นี่