รอื่นที่ดีกว่านี้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรมักใส่ปุ๋ยแบบเดียวกันหมดทุกพื้นที่ เหมือนกับการใส่เสื้อโหลที่เหมือนกันหมดทุกตัว ไม่ใช่เสื้อสั่งตัดที่มีขนาดพอดีตัวกับผู้สวมใส่
เทคโนโลยี“ปุ๋ยสั่งตัด" จุดเริ่มต้นของเกษตรแบบแม่นยำ
ดร.ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์ ประธานมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน ในฐานะนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องดินและปุ๋ยที่งานช่วยเหลือเกษตรกรมาอย่างยาวนาน เปิดเผยกับ ProgressTH ว่า นวัตกรรม “ปุ๋ยสั่งตัด” คือ การตรวจวิเคราะห์ดินเพื่อให้ทราบว่าในดินมีแร่ธาตุอะไรที่เหลือค้างอยู่บ้าง และแร่ธาตุอะไรที่ต้องเติม ซึ่ง "ดิน" รากฐานสำคัญของชีวิตเกษตรกร แต่ "ดิน"กลับเป็นสิ่งที่เกษตรกรู้จักน้อยที่สุด รวมถึงเรื่องการใช้ปุ๋ยด้วย ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ชาวนาจะไม่รู้เรื่องดินและปุ๋ยเลย บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า N-P-K ที่เขียนอยู่ข้างกระสอบ คืออะไร นี่คือปัญหาใหญ่ของเกษตรกรไทย
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการทำวิจัย "เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด" เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีที่มากเกินความจำเป็นผ่านการคำนวณธาตุอาหารที่ดินต้องการ เพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ ข้าว อ้อย และ ข้าวโพด ประกอบด้วย 3 นวัตกรรม คือ
1) คำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดที่พัฒนาจากแบบจำลองการปลูกพืชก็นำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชมาพิจารณาร่วมกัน และพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์คำแนะนำปุ๋ยที่เหมาะสมกับธาตุอาหารของดินลักษณะของการผลิตที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด
2) ชุดตรวจสอบ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม (N-P-K) ในดิน เป็นผลงานประดิษฐ์ของทีมวิจัยที่ได้เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2541 ถือเป็นครั้งแรกของประเทศ มีความแม่นยำ สะดวก ทำให้เกษตรกรวิเคราะห์ดินได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ให้เครื่องมือดังกล่าวสามารถถึงมือเกษตรกรรายย่อย ซึ่งหากเป็นแต่ก่อนต้องส่งไปห้องแล็ปใช้เวลานานหลายเดือนและเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมาก แต่วันนี้อุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์ดินได้ถูกนำมาบรรจุอยู่ในกล่องที่สามารถนำไปใช้ได้ทุกที่ โดยใช้เวลาวิเคราะห์ดินแค่ 30 นาทีเท่านั้น
3) กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมที่เพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรในการพึ่งพาตัวเอง ทีมวิจัยฝึกเกษตรกรให้เป็นนักวิจัย ใช้ไร่นาเป็นห้องทดลอง ฝึกให้เก็บและวิเคราะห์ข้อมูล เกษตรกรตื่นตัวและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการผลิต เกิดการรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน
ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ ประธานมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน ผู้ที่เป็นกำลังหลักในการผลักดัน "ปุ๋ยสั่งตัด" สู่เกษตรกร เพื่อหวังจะเกษตรไทยสามารถลดต้นทุนในผลิตด้วยการลดใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ |
เกษตรกรสามารถนำดินมาตรวจได้อย่างง่ายๆโดยต้องมีการเก็บดินจากพื้นที่ จากนั้นนำดินนี้ไปตรวจที่ “คลินิกดิน” เพื่อให้รู้ว่า ธาตุอาหารในดินมีอยู่เท่าไร ต้องใส่ปุ๋ยชนิดใด ในปริมาณเท่าไร ซึ่งนี่คือก้าวแรกที่ทำให้ชาวไร่ชาวนารู้จัก “การเกษตรแบบแม่นยำ” (Precision Agriculture)ซึ่งเป็นการเกษตรที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรให้สอดคล้องกับพื้นที่ โดยการนำเทคโนโลยีผสมผสานต่างๆ มาใช้ เพราะการทำเกษตรให้มีประสิทธิภาพต้องใส่ปุ๋ยให้ตรงกับชนิดดินนั้นๆ จะช่วยเกษตรกรลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตได้
ช่องว่างทางเทคโนโลยี อุปสรรรคใหญ่พัฒนาเกษตรกรไทย
สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดในขณะนี้ คือ การที่เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและจำนวนมากยังขาดการตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี ทำให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะแม้แต่ “ปุ๋ยสั่งตัด” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีง่ายๆ ที่เพียงใช้เสียมหรือจอบขุดดินและผสมดินด้วยมือและนำมาตรวจวิเคราะห์ที่คลินิกดินเพื่อที่จะลดการใส่ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง แต่ปรากฎว่ามีเกษตรกรจำนวนมากที่ไม่รู้เรื่องนี้เลย และยังไม่มีโอกาสใช้เทคโนโลยีง่ายๆแบบนี้ด้วยตัวเองสักครั้ง
รูปจาก https://student.societyforscience.org/article/drones-put-spying-eyes-sky |
เรื่องนี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงตัวเกษตรกรต้องร่วมกันคิดเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ "เกษตรเทคโน" ด้วยการนำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วย ไม่ต้องยากลำบากแบบแต่ก่อนอีกต่อไป
ทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือแทนที่แจกเทคโนโลยีให้เกษตรกรแบบฟรีๆ เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งบางครั้งเกษตรกรก็ไม่ได้สนใจนำไปใช้อย่างจริงจัง เพราะเป็นของฟรีอาจไม่รู้สึกถึงคุณค่า ดังนั้น ควรมีการบูรณาการเทคโนโลยีการเกษตรเหล่านี้ ให้เป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ ซึ่งเกษตรกรจะยอมจ่ายถ้าเห็นว่าสามารถลดต้นทุนได้จริง
ยกตัวอย่างเช่น รถเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่ชาวไร่ชาวนาไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะเห็นชัดว่าช่วยลดทั้งแรงงานและเวลา ทำให้พวกเขายอมจ่าย และสิ่งที่ตามมาคือธุรกิจบริการรถเกี่ยวข้าว ดังนั้น
เรื่อง คลินิกดิน “ปุ๋ยสั่งตัด” ก็เช่นกัน ควรมีการเก็บค่าวิเคราะห์ดิน เพราะหากเกษตรกรยอมจ่าย ก็แปลว่าเขายอมลงทุนและจะตั้งใจทำทุกอย่างให้เกิดความคุ้มค่า
โดยขั้นตอนต่อไปที่น่าจะทำได้ คือการผลักดัน คลินิกดิน “ปุ๋ยสั่งตัด” ให้เป็นวิสาหกิจชุมชนบริการให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีการเกษตรแบบครบวงจร และควรเกษตรกรให้รู้จักโลกออนไลน์ด้วย เพื่อให้พวกเขาเข้าถึงความรู้ใหม่ๆทั้งไทยและทั่วโลก แนวทางนี้น่าจะทำให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น
เครดิตรูปจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1416916764 |
ทั้งนี้ปี 2558 การแข่งขันทางการค้าในภูมิภาคอาเซียนจะรุนแรงขึ้น ทั้งด้านคุณภาพและราคาของผลผลิตการเกษตร ข้าวไทยเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญที่ยังต้นทุนสูง หากชาวนาไทยยังใช้วิถีการผลิตแบบเดิมย่อมไม่เกิดความยั่งยืนในการทำนา เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดอำนาจต่อรอง ไม่สามารถพึ่งพาการปรับราคาขายเพียงด้านเดียว เพราะราคาขายต้องเป็นไปตามกลไกทางการตลาด ยากต่อการควบคุม แต่สิ่งที่เกษตรกรสามารถควบคุมได้และทำได้ทันที คือ "ต้นทุน" ด้วยการการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิตให้มีคุณภาพมากขึ้น
ทีมProgressTH เอง ได้เก็บตัวอย่างดิน โดยจะนำส่งดินไปตรวจที่ “คลินิกดิน”ในเร็วนี้ๆ เพื่อที่ได้ลองใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อบอกต่อกับเกษตรกรคนอื่นๆต่อไป โดยทางทีม ProgressTH จะร่วมสนับสนุนการทำงานของ ดร.ประทีป ซึ่งล่าสุดได้มีการจัดตั้งเครือข่าย “ลุ่มน้ำเจ้าพระยาป่าสัก” ซึ่งเป็นการรวมตัวของเหล่าเกษตรกรผู้นำที่เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ดินเพื่อปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งทางเครือข่ายฯตั้งเป้าว่าปีนี้ จะปลูกข้าวด้วยต้นทุน2,500 บาท โดยลดเมล็ดพันธุ์ ลดปุ๋ย ไม่ฉีดยา และลดค่าแรง (โดยใช้เครื่องปลูกข้าว) นอกจากน้ีทางเครือข่ายฯยังได้เดินสายเปิดคลินิคดิน “ปุ๋ยสั่งตัด” เพื่อบริการตรวจดินฟรี และให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยให้เกษตรกร ในจังหวัดเชียงราย สระบุรี และ อยุธยา รายละเอียดที่นี่
รายละเอียดเรื่อง ปุ๋ยสั่งตัด http://www.ssnm.info และ www.banrainarao.com
ติดตาม ProgressTH.org ใน Facebook ที่นี่ และ Twitter ที่นี่