ทีม ProgressTH ได้สัมภาษณ์ อาจารย์อรภัค สุวรรณภักดี นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีและในฐานะผู้ก่อตั้งชมรม เรียนฟรีกับสถาบันเอ็มไอที MIT OCW CLUB THAILAND เเละ ชมรมผู้นำเยาวชนไทย เเห่งเเรกบนเฟ๊ซบุ๊ก LEADERSHIP CLUB THAILAND เพื่อไขข้อกระจ่างในเรื่องนี้ ว่ายุคดิจิตอลแบบนี้ การศึกษาของไทยควรขับเคลื่อนอย่างไร เพื่อให้เรามีการศึกษาที่มีคุณภาพมากที่สุด
Cr : http://innovativelearning.com/teaching/social_learning.html
อาจารย์อรภัค บอกว่า อุปกรณ์ Social Learning Tools จะเป็นแนวทางสำคัญที่จะพัฒนาการเรียนรู้เพราะจะทำให้คนไม่หยุดนิ่งกับสิ่งที่อยู่ในตำรา เพราะเวลามีการสัมมนาถกเถียงผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ก็สามารถทำให้เรียนรู้จากคนอื่นได้ ทำให้มีการพัฒนาได้เร็วขึ้น ซึ่งแต่ละอุปกรณ์ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน เช่น Facebook/group/page , Line group เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายสังคมเเบบกว้างมาก(Mass) เราสามารถรับสารต่างๆ และถกเถียงและมีปฏิสัมพันธ์ได้ทันที เพียงแต่ไม่มีคนกำกับ( Moderator) เหมือนอาจารย์ในห้องเรียนที่จะคอยชี้ว่าอะไรถูกอะไรผิดเท่านั้น ทำให้เป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีรูปแบบและไม่เป็นระบบ
ขณะที่ Moodle ( Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment ) จะมีระบบจัดการเรียนการสอนแบบโรงเรียนออนไลน์ โดยมีครูเป็นตัวกลางในการกำกับดูแล สามารถทำการบ้าน ส่งการบ้าน และถกเถียงกันได้ มีโครงหลัก(Feature) ต่างๆที่ทำให้ มีการเรียนร่วมกันได้เหมือนเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนจริงๆ สามารถเฉพาะเจาะจง ( Customize) ลงไปในเนื้อหาต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละกลุ่มได้ เรียกว่า Learning management system(LMS) โดยครูมีหน้าที่เป็น Admin ซึ่งหากนำมา Social Learning Tools ใช้ร่วมกับ E-library เเละ Open Courseware เเละ Itunes จะย่ิงทำให้นักเรียนสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆได้อย่างมากมายไร้ขีดจำกัด ดังนั้น อุปกรณ์เหล่านี้ จึงช่วยขับเคลื่อนการเรียนรู้ให้เร็วมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องใช้ครูจำนวนมาก
อาจารย์อรภัค กล่าวว่า ทั้งนี้ที่ผ่านมาการศึกษาไทยมีระบบ Pedagogy ซึ่งเป็นการสอนการสอนแบบท่องจำมากเกินไป ซึ่งระบบนี้ควรใช้กับเด็ก ไม่ควรจะเอามาใช้กับผู้ใหญ่มากเกินไป จนทำให้คนมีปัญหาการคิดแบบตรรกะ เพราะมีการเรียนแบบ Pedagogy ตั้งแต่เด็กจนโต ดังนั้นการศึกษาในระดับปริญญาตรีควรนำ Andragogy ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ทั้งครูและนักเรียนมีการเรียนการสอนร่วมกันเข้ามาผสม ส่วนในระดับปริญญาโท-เอก ควรเน้นเรียนแบบAndragogy ไปเลย
โดยนวัตกรรมเหล่านี้สามารถพัฒนาตรรกะของเด็กได้ ทำให้เด็กคิดเป็น เพราะเป็นการเรียนแบบถกเถียงกันใน Case Study ต่างๆ ซึ่งวิธีการสอนแบบนี้ครูผู้สอนถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะจะต้องเป็นคนที่มีความรู้ และต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กนักเรียนในห้อง เพื่อให้เด็กๆได้ใช้ความคิดในการเรียนรู้
“การเรียนแบบAndragogy สำคัญมาก เพราะเป็นระบบที่สอนให้เด็กคิดเป็น ยกตัวอย่างเช่น การเรียนการวิเคราะห์ทางธุรกิจ นอกจากจะสอนแล้ว คุณครูต้องมีการตั้งคำถามให้เด็กนักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เปลี่ยนกันตอบเพื่อจำแต่ละบทให้ได้ และให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยสามารถนำSocial Learning Tools เข้ามาช่วย หากการเรียนในห้องมีเวลาจำกัดพูดกันไม่จบ ก็สามารถให้นักเรียนไปถกกันต่อใน Social Learning Tools ต่างๆที่คุณครูตั้งเป็น Social learning class room ทำให้การเรียนรู้ไม่หยุดนิ่ง และครูสามารถเข้าไปตรวจงานให้คะแนนจากห้องเรียนออนไลน์นี้ได้” นักวิชาการ ด้านการศึกษาระบุ
การนำ Social Learning Tools/Learning management system มาใช้สามารถช่วยเร่งการศึกษาไทยได้คือ แทนที่จะเรียน 4 ปีจบ หรือ 3 ปีครึ่งจบ นักศึกษาก็มีสิทธิที่จะเลือกเรียนเพียง 2 ปีจบ โดยทำการบ้านและส่งงานและมีส่วนร่วมในห้องเรียนผ่านอุปกรณ์Social Learning Tools เป็นการเรียนแบบ Mobile learning อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ 24/7 สามารถทำให้นักเรียนในบางสาขาสามารถจบได้ภายระยะเวลา 2 ปีกว่า
นอกจากนี้ Social Learning Tools ยังสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนความรู้เฉพาะด้านได้ โดยหากประเทศขาดแคลนวิชาชีพใดก็สามารถสร้างหลักสูตรเร่งรัดและให้เรียนผ่าน Social Learning Tools และมีการให้ประกาศนียบัตร/ปริญญา กับผู้เรียนได้ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาคนได้อย่างทันท่วงที โดยอาจจัดให้มีการสอบวัดผลในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วและจบได้เร็วกว่า
ทั้งนี้การเรียนโดยใช้ Social Learning Tools นั้นต่างจาก E-Learning ซึ่งเป็นการเรียนแบบแห้งๆ จากบทเรียนที่แค่มีการโพสต์ไว้เฉยๆ ไม่ได้มีการจัดระบบการสอนที่ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน เน้นแต่เรียนทางไกล และไปสอบออนไลน์/ไปสอบเอง ซึ่งยังอยู่ในระบบการเรียนแบบท่องจำแบบ Pedagogy ต่อมาก็มีการโพสต์เว็บบอร์ดบ้าง แต่ก็ไม่มีใครใช้
จนมาถึงอุปกรณ์ห้องเรียนออนไลน์แบบ Moodle มีการพัฒนาการเรียนออนไลน์แบบ MIT Open Courseware โดยทุกคนสามารถเรียนหนังสือจากหลักสูตรของ MIT ได้ทั่วโลก การเรียนจาก iTune ซึ่งก็แล้วแต่ความถนัดและความสนใจของแต่ละคน ซึ่งไม่แพร่หลายหากเทียบกับการเข้าถึง Social Media ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถปรับเป็น Social Learning Tools และทำให้ระบบการศึกษาง่ายขึ้น เพียงแต่ครูผู้สอนต้องมีการอบรมเรื่องการใช้ระบบออนไลน์และทำหน้าที่เป็น Admin กำกับดูแลการเรียนของเด็กๆ เป็นการประโยชน์จาก Social media ให้เป็นรูปธรรม
“ดังนั้นการเรียนรู้ในปัจจุบันจึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่กับการเข้าห้องเรียนอีกต่อไป ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็เรียนได้เพียงแต่ให้มีอินเตอร์เนต มีสัญญาณ มีอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์/โน๊ตบุ๊ค/ แท็บเล็ต/ไอแพด/ มือถือ ทุกคนสามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ เพราะฉะนั้นการปรับตัวของผู้สอนจึงมีความสำคัญมาก เพราะต้องมีการหาข้อมูลเพิ่มตลอดเวลา ซึ่งการเรียนแบบAndragogy + Social Learning Tools จึงเป็นการพัฒนาทั้งผู้เรียนและผู้สอนให้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการเรียนการสอนที่ดีที่สุดในโลก เพื่อให้เยาวชนไทยมีทักษะการคิดที่เป็นตรรกะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำในอนาคต ” อาจารย์อรภัค กล่าวทิ้งท้าย
Cr: http://thumbsup.in.th/2012/02/how-do-universities-use-social-media-successfully/
ติดตาม ProgressTH.org ใน Facebook ที่นี่ และ Twitter ที่นี่
Cr : http://innovativelearning.com/teaching/social_learning.html
อาจารย์อรภัค เปิดประเด็นในเรื่องนี้ว่า ในฐานะที่ศึกษาเรื่องการศึกษา พร้อมๆกับเทคโนโลยี เเละ การพัฒนาผู้นำ เห็นว่า รัฐบาลควรขับเคลื่อนการเรียนรู้ให้เร็วมากขึ้นด้วยเทคโนโลยี ด้วยการนำ Social Learning Tools หรืออุปกรณ์การเรียนรู้ร่วมกันทางสังคม มาใช้ในการเรียนการสอน เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวมีมากมายในยุคปัจจุบันที่เราใช้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น เช่น Facebook Line Whatsapp ฯลฯ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว สามารถนำมาใช้ได้ทันที เพราะหากรอแต่การพัฒนาครู การศึกษาไทยอาจจะก้าวไม่ทันยุคโลกาภิวัฒน์ได้
อาจารย์อรภัค บอกว่า อุปกรณ์ Social Learning Tools จะเป็นแนวทางสำคัญที่จะพัฒนาการเรียนรู้เพราะจะทำให้คนไม่หยุดนิ่งกับสิ่งที่อยู่ในตำรา เพราะเวลามีการสัมมนาถกเถียงผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ก็สามารถทำให้เรียนรู้จากคนอื่นได้ ทำให้มีการพัฒนาได้เร็วขึ้น ซึ่งแต่ละอุปกรณ์ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน เช่น Facebook/group/page , Line group เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายสังคมเเบบกว้างมาก(Mass) เราสามารถรับสารต่างๆ และถกเถียงและมีปฏิสัมพันธ์ได้ทันที เพียงแต่ไม่มีคนกำกับ( Moderator) เหมือนอาจารย์ในห้องเรียนที่จะคอยชี้ว่าอะไรถูกอะไรผิดเท่านั้น ทำให้เป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีรูปแบบและไม่เป็นระบบ
ขณะที่ Moodle ( Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment ) จะมีระบบจัดการเรียนการสอนแบบโรงเรียนออนไลน์ โดยมีครูเป็นตัวกลางในการกำกับดูแล สามารถทำการบ้าน ส่งการบ้าน และถกเถียงกันได้ มีโครงหลัก(Feature) ต่างๆที่ทำให้ มีการเรียนร่วมกันได้เหมือนเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนจริงๆ สามารถเฉพาะเจาะจง ( Customize) ลงไปในเนื้อหาต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละกลุ่มได้ เรียกว่า Learning management system(LMS) โดยครูมีหน้าที่เป็น Admin ซึ่งหากนำมา Social Learning Tools ใช้ร่วมกับ E-library เเละ Open Courseware เเละ Itunes จะย่ิงทำให้นักเรียนสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆได้อย่างมากมายไร้ขีดจำกัด ดังนั้น อุปกรณ์เหล่านี้ จึงช่วยขับเคลื่อนการเรียนรู้ให้เร็วมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องใช้ครูจำนวนมาก
อาจารย์อรภัค สุวรรณภักดี ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที และผู้ก่อตั้ง ชมรม เรียนฟรีกับสถาบันเอ็มไอที MIT OCW CLUB THAILAND |
โดยนวัตกรรมเหล่านี้สามารถพัฒนาตรรกะของเด็กได้ ทำให้เด็กคิดเป็น เพราะเป็นการเรียนแบบถกเถียงกันใน Case Study ต่างๆ ซึ่งวิธีการสอนแบบนี้ครูผู้สอนถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะจะต้องเป็นคนที่มีความรู้ และต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กนักเรียนในห้อง เพื่อให้เด็กๆได้ใช้ความคิดในการเรียนรู้
“การเรียนแบบAndragogy สำคัญมาก เพราะเป็นระบบที่สอนให้เด็กคิดเป็น ยกตัวอย่างเช่น การเรียนการวิเคราะห์ทางธุรกิจ นอกจากจะสอนแล้ว คุณครูต้องมีการตั้งคำถามให้เด็กนักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เปลี่ยนกันตอบเพื่อจำแต่ละบทให้ได้ และให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยสามารถนำSocial Learning Tools เข้ามาช่วย หากการเรียนในห้องมีเวลาจำกัดพูดกันไม่จบ ก็สามารถให้นักเรียนไปถกกันต่อใน Social Learning Tools ต่างๆที่คุณครูตั้งเป็น Social learning class room ทำให้การเรียนรู้ไม่หยุดนิ่ง และครูสามารถเข้าไปตรวจงานให้คะแนนจากห้องเรียนออนไลน์นี้ได้” นักวิชาการ ด้านการศึกษาระบุ
การนำ Social Learning Tools/Learning management system มาใช้สามารถช่วยเร่งการศึกษาไทยได้คือ แทนที่จะเรียน 4 ปีจบ หรือ 3 ปีครึ่งจบ นักศึกษาก็มีสิทธิที่จะเลือกเรียนเพียง 2 ปีจบ โดยทำการบ้านและส่งงานและมีส่วนร่วมในห้องเรียนผ่านอุปกรณ์Social Learning Tools เป็นการเรียนแบบ Mobile learning อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ 24/7 สามารถทำให้นักเรียนในบางสาขาสามารถจบได้ภายระยะเวลา 2 ปีกว่า
นอกจากนี้ Social Learning Tools ยังสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนความรู้เฉพาะด้านได้ โดยหากประเทศขาดแคลนวิชาชีพใดก็สามารถสร้างหลักสูตรเร่งรัดและให้เรียนผ่าน Social Learning Tools และมีการให้ประกาศนียบัตร/ปริญญา กับผู้เรียนได้ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาคนได้อย่างทันท่วงที โดยอาจจัดให้มีการสอบวัดผลในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วและจบได้เร็วกว่า
สถิติคนไทยกับการใช้ Social Media |
จนมาถึงอุปกรณ์ห้องเรียนออนไลน์แบบ Moodle มีการพัฒนาการเรียนออนไลน์แบบ MIT Open Courseware โดยทุกคนสามารถเรียนหนังสือจากหลักสูตรของ MIT ได้ทั่วโลก การเรียนจาก iTune ซึ่งก็แล้วแต่ความถนัดและความสนใจของแต่ละคน ซึ่งไม่แพร่หลายหากเทียบกับการเข้าถึง Social Media ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถปรับเป็น Social Learning Tools และทำให้ระบบการศึกษาง่ายขึ้น เพียงแต่ครูผู้สอนต้องมีการอบรมเรื่องการใช้ระบบออนไลน์และทำหน้าที่เป็น Admin กำกับดูแลการเรียนของเด็กๆ เป็นการประโยชน์จาก Social media ให้เป็นรูปธรรม
“ดังนั้นการเรียนรู้ในปัจจุบันจึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่กับการเข้าห้องเรียนอีกต่อไป ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็เรียนได้เพียงแต่ให้มีอินเตอร์เนต มีสัญญาณ มีอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์/โน๊ตบุ๊ค/ แท็บเล็ต/ไอแพด/ มือถือ ทุกคนสามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ เพราะฉะนั้นการปรับตัวของผู้สอนจึงมีความสำคัญมาก เพราะต้องมีการหาข้อมูลเพิ่มตลอดเวลา ซึ่งการเรียนแบบAndragogy + Social Learning Tools จึงเป็นการพัฒนาทั้งผู้เรียนและผู้สอนให้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการเรียนการสอนที่ดีที่สุดในโลก เพื่อให้เยาวชนไทยมีทักษะการคิดที่เป็นตรรกะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำในอนาคต ” อาจารย์อรภัค กล่าวทิ้งท้าย
Cr: http://thumbsup.in.th/2012/02/how-do-universities-use-social-media-successfully/
ติดตาม ProgressTH.org ใน Facebook ที่นี่ และ Twitter ที่นี่