24 ก.ย. 2558- ProgressTH (www.progressTH.org) จากความสำเร็จของนิตยสาร Make ได้สร้างวัฒนธรรม Makers เกิดขึ้นทั่วโลก และ งาน Maker Faire ได้จุดประกายให้กับ Makers ทั่วโลก ได้มีโอกาสแสดงผลงานของตัวเอง ทำให้งาน Maker Faire เป็นงานที่แสดงความผลงานความสร้างสรรค์อย่างหลากหลายและเป็นต้นแบบของการจัดงาน Maker Faire ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ทั้ง สหรัฐ ยุโรป ล่าสุดในประเทศไทย
“Maker Faire” มาถึงประเทศไทยแล้ว ภายใต้ชื่องาน "Bangkok Mini Maker Faire" ในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 26-27 ก.ย. นี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป ที่ลาน Hard rock cafe สยามสแควร์ ซึ่งงาน Bangkok Mini Maker faire ครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่ดี ที่ Makerspace/Makers สามารถแสดงผลงานกับประชาชนทั่วไปว่าทุกคนสามารถเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี ซึ่งไม่ใช้แค่ความสนุกเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวันได้
Maker จุดเริ่มต้นการสร้าง นวัตกรรม
คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า เมกเกอร์คือ จะเป็นผู้ที่ชอบสร้างสรรค์หรือดัดแปลงสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันให้ได้ดังใจ เมกเกอร์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่วิศวกรหรือผู้ที่มีความรู้ในเทคโนโลยีชั้นสูงเท่านั้นงานประดิษฐ์ในขบวนการเมกเกอร์จึงมีหลากหลายตั้งแต่งานไฮเทค เช่น เครื่องพิมพ์สามมิติ กล้องโดรน ไปงานที่ใช้พลาสติก อิเล็กทรอนิกส์ หรือโลหะ รวมถึงผ้า กระดาษ เซรามิกส์ ไม้ หรือแม้แต่อาหาร ต่างก็รวมอยู่ด้วยทั้งสิ้น ขอเพียงแค่ให้มีความแปลกใหม่และการสร้างสรรค์ไอเดียต่างๆ ผิดแปลกจากคนอื่น”
การเป็นเมกเกอร์ไม่ใช่เพียงแค่งานอดิเรก ผลงานของเมกเกอร์สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ เพราะสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน ซึ่งการผลิตสินค้าแบบอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากแบบเดิมๆ ทำไม่ได้ โดยรายงานเกี่ยวกับผลที่ขบวนการเมกเกอร์มีต่อเศรษฐกิจ ซึ่งจัดทำโดยบริษัท Maker Media ร่วมกับ Deloitte ระบุว่าในปี 2013 มีสินค้าจากเมกเกอร์ที่ซื้อขายกันในร้านค้ามากกว่า 1 ล้านแห่ง รวมมูลค่าสูงถึง 1,350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
"วัฒนธรรมเมกเกอร์เป็นสิ่งที่ควรได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังเพราะเป็นตัวจุดประกายให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ อันเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตที่กำลังเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นยุคที่ต้องการผู้ที่มีความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีต่างๆ ด้วยเหตุนี้วัฒนธรรมเมกเกอร์ที่แข็งแรงจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน"
HEBOCON เปิดประตูสร้างนักประดิษฐ์
โดยภายในงานจะมีการแสดงผลงานของ Makers ทั่วประเทศที่จะมารวมตัวกันในงานนี้เพื่อโชว์ผลงานสร้างสรรค์ และมีไฮไลท์สำคัญ คือ การจัดการแข่งขัน HEBOCON Thailland “หุ่นยนต์เห่ยสร้างสรรค์ประจัญบาน” ครั้งที่ 2 ในวันอาทิตย์ที่ 27 ก.ย. ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป โดยทีม Maker Zoo เพื่อเปิดโอกาสให้นักประดิษฐ์หน้าใหม่ลงสนาม โดยไม่ต้องกลัวความล้มเหลว
HEBOCON เป็นการแข่งขันซูโม่หุ่นยนต์สำหรับผู้ขาดพรสวรรค์ในทางเทคนิค โดยมีต้นแบบมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลายคนเรียก HEBOCON ว่า หุ่นยนต์กากๆแต่มากด้วยไอเดีย บางคนก็เรียกว่า “เห่ยยนต์”
ภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์ ผู้ก่อตั้ง Maker Zoo กล่าวว่า "ทีม Maker Zoo จัด HEBOCON เพื่อต้องการทลายกำแพงเรื่องเทคโนโลยีให้ทุกคนกล้าปล่อยไอเดียสร้างสรรค์ และเปิดทางให้นักประดิษฐ์หน้าใหม่ได้เจอกัน รวมถึงเรื่องการเรียนรู้ความล้มเหลวลองผิดลองถูก คนเปิดใจกล้าแสดงออกมากขึ้น และสนุกไปกับสิ่งที่ทำ เพราะ Hebocon เปรียบเหมือนกิจกรรมลายพฤติกรรม (Ice breaking) ว่าคนที่เข้ามา Makerspace นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด"
เพราะก่อนหน้านี้หากกล่าวถึง Makerspace คนส่วนมากก็มักจะคิดว่า Makerspace เป็นพื้นที่ของคนเก่งเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ความจริง Makerspace เป็นพื้นที่ของทุกคนและทุกวัย ใครๆก็สามารถเป็น Maker ได้ ขอเพียงมีใจรักและลงมือทำเท่านั้น อีกทั้งในพื้นที่ Makerspace ยังมีเครื่องมือต่างๆที่สามารถเรียนรู้ได้อีกมาก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆที่มาจาก “ไอเดีย” กลายเป็นความจริง”
ไม่ว่าจะเป็นทั้งบ้านฮาร์ดแวร์/ซอฟท์แวร์ เครื่องพิมพ์สามมิติ มอเตอร์ต่างๆ และอุปกรณ์ Electronic ต่างๆ จาก Opensource ซึ่งเป็นหลักของวัฒนธรรม Makers ที่เราเน้น Learning By Doing and Sharing ทุกคนสามารถเป็นสมาชิก Makerspace เพื่อเรียนรู้ตาม Workshop ต่างๆได้ ซึ่งภายในงานจะมีการจัด Workshop เหล่านี้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
Maker Faire แค่จุดเริ่มต้น...
Maker Faire แค่จุดเริ่มต้น...
แต่สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สามารถเรียนรู้เบื้องต้นได้จากงาน Maker faire ครั้งนี้ โดยภายในงานยังมี Workshop จาก Makerspace ค่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Home of Maker FabCafe Chiang Mai Maker Club ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เทคโนโลยีถึงศิลปะต่างๆ รวมถึงผู้ประกอบการต่างๆอีกมากมาย
ทั้งนี้กระแส Maker movement ที่เป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้ประชาชนคนธรรมดาเชื่อว่าตัวเองสามารถเป็นนักสร้าง/นักประดิษฐ์ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเองได้ ซึ่งเป็นกระแสที่มาแรงมากในต่างประเทศ และเพิ่งมีการเผยแพร่เข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณปลายปีที่ผ่านมา
ด้วยเวลาไม่ถึงปีกระแสดังกล่าวเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะมี Makerspace เกิดขึ้นมากมายในกรุงเทพฯ รวมถึงในต่างจังหวัด เช่นที่ อยุธยา เชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นสัญญานที่ดี เพราะ Makers สามารถปลุกพลังการผลิตได้ ซึ่งจะเป็นพลังทางบวกต่อสังคมอย่างแน่นอน
ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น จากนี้ไป Maker movement จะสามารถขยายไปสู่ประชาชนกลุ่มต่างๆมากขึ้น เพื่อเรียนรู้และสนุกในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆร่วมกัน อีกทั้ง Maker ยังมีโอกาสต่อยอดไอเดียต่างๆให้พัฒนาเป็น “ผลิตภัณฑ์” และเติบโตเป็น “ผู้ประกอบการ” ต่อไปได้
ที่สำคัญที่สุด หัวใจของ “การลงมือทำ” จะเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมให้ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเองผ่านเทคโนโลยีต่างๆ นี่คือการเริ่มต้น ที่เราหวังว่าจะเห็นประชาชนมาร่วมเดินกับเราในอนาคตมากยิ่งขึ้น
ลิงค์สมัคร Hebocon https://www.eventpop.me/e/122
ลิงค์สมัคร Workshops https://www.eventpop.me/c/bangkok-mini-maker-faire