ปฏิบัติการ Low Cost Smart Farm สานฝันเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่แห้งแล้ง

2 มิ.ย.2559- ProgressTH.orgยังคงทำงานกันอย่างหนักต่อเนื่องสำหรับ ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน บ้านดอนผิงแดด .เพชรบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงพื้นที่ช่วยประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี เปลี่ยนผ่านจากเกษตรเคมี ไปสู่เกษตรอินทรีย์

ล่าสุด ทางกลุ่มได้ทำโครงการ  “Smart Farm ต้นทุนต่ำพื่อแก้ปัญหาที่คนส่วนใหญ่ต้องประสบ ไม่ว่าจะเป็น  มีที่ดินน้อย มีทุนน้อย ไม่มีแรงงาน และไม่มีเวลา เพราะฉะนั้นโครงการนี้จึงถูกออกแบบมาเป็นการเกษตรสำหรับคนขี้เกียจ ไม่มีเวลา เพราะทุกอย่างจะถูกตั้งเวลาแบบอัตโนมัติทั้งหมด เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและแรงงาน

พื้นที่แรกสำหรับโมเดลนี้ ทางกลุ่มได้เลือกพื้นที่ บ้านทุ่งยาว .แก่งกระจาน .เพชรบุรี ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่โหดที่สุด หินที่สุด เพราะเป็นพื้นที่เนินเขาและมีหินจำนวนมาก แห้งแล้ง น้ำในลำธาร แห้งขอด ดินร่วนทราย  มองดูแล้วต้องยากแน่ๆที่จะปลูกพืชผักในพื้นที่แบบนี้  แต่ทางทีมก็เลือกพื้นที่นี้  เพื่อที่พิสูจน์ว่า  เราสามารถทำสมาร์ทฟาร์มเกษตรอินทรีย์ได้ทุกพื้นที่   



โดยขั้นตอนการทำฟาร์มครั้งนี้ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่  14  พ.ค.2559   เป็นต้นมา จะถูกบันทึกทั้งหมด ทั้งในแบบรูปถ่ายและวิดิโอ และจะเสนอเป็นเรื่องราวเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆด้วย  เราจะเดินไปพร้อมๆกัน  ตั้งแต่จุดเริ่มต้น ปัญหาอุปสรรคต่างๆ และจะพยายามทุกทาง จนประสบความสำเร็จ  

ทั้งนี้บนพื้นที่รกร้างว่างเปล่าประมาณ 10 ไร่ ถูกวางไว้ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกผักและไม้ยืนต้นเพื่อเป็นแหล่งอาหารและแหล่งรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยชาวบ้านรับผิดชอบร่วมกัน  

 เริ่มจากการเตรียมดิน ถือเป็นจุดที่ยากที่สุด ที่ประชาชนในพื้นที่กลัวว่าดินของพวกเขาคงจะไม่สามารถเพาะปลูกอะไรได้ เพราะเป็นดินผสมหินตั้งอยู่บนพื้นที่แห้งแล้ง  แต่ในที่สุดพวกเขาก็ไม่ล้มเลิกความตั้งใจและใช้หลักการปลูกพืชพร้อมกับการบำรุงดิน ซึ่งได้รับคำแนะนำจาก สำราญ อ่วมอั๋น  ว่าเราสามารถเพาะปลูกได้ทุกพื้นที่ ด้วยการทำร่องเป็นรูปตัว V และ ใส่ปุ๋ยหมักแห้งโบกาฉิ ซึ่งเป็นการทำปุ๋ยหมักผสมกับน้ำจุลินทรีย์ชีวภาพ และปลูกพืชบนปุ๋ยหมักได้เลย 


ขณะเดียวกันทางกลุ่มก็การเพาะผัก เพื่อนำไปปลูกในแปลง ซึ่งทำพร้อมๆไปกับการเตรียมดิน โดยการเพาะครั้งนี้ได้มีการนำไฟ LED เข้ามาใช้ด้วย ซึ่งทำเปอร์เซ็นการงอกและการเติบโตของผักเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น   อีกทั้งได้แบ่งเวลาไปร่วมอบรม Participatory Guarantee System (PGS) ซึ่งมีการริเริ่มจาก ริเริ่มขึ้นโดยสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) เพื่อสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ในท้องถิ่น ซึ่งจัดโดยกรีนเนท 

ต่อจากนั้น ตามด้วยการติดตั้งระบบน้ำ  โดยกลุ่มเกษตรกรบ้านทุ่งยาวเลือกระบบน้ำสปริงเกอร์แบบประหยัดน้ำ 100ลิตร/ชมตามเป้าหมายการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีคุณค่าพร้อมระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ควมคุมด้วยระบบอัติโนมัติแบบ Smart Farm  และติดตั้งระบบหม้อปุ๋ย เพื่อใส่ปุ๋ยไปพร้อมๆกับการให้น้ำ  เพื่อลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิง แรงงาน  และ เวลาไปพร้อมกัน 

อนุพงษ์  ตรงจริง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้  กล่าวว่า   สองสัปดาห์ผ่านไปเราได้ลงมือปลูกผักลงแปลงกันแล้ว โดยลงมือทำตั้งแต่เช้ายันค่ำ ด้วยแสงสว่างจากโซลาร์เซลล์  พลังความสามัคคีของชาวบ้าน  พร้อมพลิกพื้นที่ทำกินและแนวคิดการเกษตรแบบใหม่ที่ลดต้นทุนและ แรงงาน  คืนความเขียวขจีให้ธรรมชาติ สร้างแหล่งผลิตผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ให้กับตนเองและผู้อื่น 

 “การวางแผนทำงานแม้จะเหนื่อยวันนี้เพื่อไม่เหนื่อยในวันหน้า แล้วเอาเวลาไปศึกษาต่อยอดเกษตรอินทรีย์ โดยจะเริ่มจากผักอินทรีย์ 1 ไร่ครึ่ง   ที่กลุ่มเกษตรกรบ้านทุ่งยาว จะทำภายใต้แนวคิด ปลูกกิน เหลือขาย และเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ต่อยอด  เราจะสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยไว้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องตนเองและผู้อื่น” อนุพงษ์ กล่าว 

...........ติดตามชมการแต่งแต้มสีเขียวให้กับพื้นที่แห้งแล้งต่อไป..........To Be Continued. 

ติดตาม  ProgressTH.org   Facebook ที่นี่ หรือ Twitter ที่นี่

พื้นที่ว่างเปล่าแห้งแล้งแห่งนี้  คือพื้นที่ชาวบ้านทุ่งยาวแก่งกระจาน ร่วมมือร่วมใจกันที่จะเปลี่ยนแปลงพื้นที่นี้เป็นแหล่งผลิตอาหาร ของชุมชน  ภารกิจแต่งแต่งสีเขียวด้วยเกษตรอินทรีย์ได้เริ่มขึ้น เมื่อวันที่   14 พ.ค. ที่ผ่านมา 

ร่วมแรงร่วมใจปรับพื้นที่ ด้วยการขุดร่องแบบตัว V ใส่ปุ๋ยหมักแห่งโบกาฉิ ซึ่งจะเป็นการปลูกและการปรับปรุงดินไปพร้อมๆกัน 

เรียนรู้เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์  ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำฟาร์มระบบอัตโนมัติ 

Add caption

 วางโครงสร้างระบบน้ำ ที่จะใช้ระบบน้ำหยดและสปริงเกอร์ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด มีการตั้งเวลาเปิดปิดอัตโนมัติ





เปิดทดสอบระบบน้ำเพื่อความชุ่มชื้น



เตรียมเพาะเมล็ดพันธุ์ เพื่อนำลงแปลง 

ใช้เทคโนโลยี LED เข้าช่วย เพื่อให้การงอกสมบูรณ์มากขึ้น 
หวานเมล็ดลงหลุมด้วยหลักเกษตรแบบประณีต


ความร่วมมือร่วมใจ ตั้งแต่เช้ายันเที่ยงคืน
ห่มแปลงด้วยฟางเพื่อความชุ่มชื้น  รอการเติบโตของต้นกล้าเกษตรอินทรีย์ต่อไป