เปิด 3 แนวทาง กระจายวัคซีนโควิด 19 อย่างเท่าเทียม ปิดทางไวรัสกลายพันธุ์ทำลายโลกมากกว่านี้

 6 เม.ย. 2564 -  ProgressTH.org – By Katibza 

บทความนี้เรียบเรียงมาจาก  “3 ways to vaccinate the world and make sure everyone benefits, rich and poor”  (3แนวทางในการจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึงทั่วโลกและทุกคนได้ประโยชน์เท่ากันทั้งคนรวยและคนจน)   โดยอาจารย์  Michael Toole , Professor of International Health, Burnet Institute

ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์  ได้มีการกระจายวัคซีน COVID-19 ทั้งหมด 221.7 ล้านโดสออกไปทั่วโลก มากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณเหล่านี้ หรือมากกว่า 73.9 ล้านโดส  อยู่ที่ 2 ประเทศเท่านั้นคือ  สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร

การศึกษาในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนได้วิเคราะห์ข้อผูกพันในการซื้อวัคซีน COVID-19 จำนวน 7.48 พันล้านโดส มากกว่า50% จะไปอยู่ที่ 14% ของประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้สูง  

เป็นที่คาดกันว่า ประเทศที่มีรายได้สูงจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด19 อย่างกว้างขวางภายในปี 2565

ขณะที่ประเทศรายได้ปานกลางจะทั่วในช่วงกลางปี 2565 และประเทศที่ยากจนที่สุด ในโลกรวมทั้งเกือบทุกประเทศในทวีปแอฟริกาและบางส่วนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะต้องรอจนถึงปี 2566 

ความเหลื่อมล้ำและไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้น  ถือเป็นปัญหาศีลธรรมสาธารณะอย่างชัดเจน และเป็นปัญหาที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนในสังคมและต่อเศรษฐกิจทั่วโลกด้วย 


รูปจาก  https://www.thairath.co.th/news/local/2038447

ทั้งนี้มีหลายเหตุผลที่ตอกย้ำว่า  วัคซีนที่ผลิตออกมาควรมีกระจายอย่างทั่วถึง (Equity) ให้กับทุกคนบนโลก   โดย

ข้อแรก เรื่องนี้เป็นเรื่องศีลธรรม  หากเรารู้ว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะลดการล้มตายของผู้คนได้ ถ้ามีวัคซีนแล้วและการเพิกเฉยเรื่องนี้โดยไม่ทำอะไร  ถือว่าเราได้ปล่อยให้มีการ "ตาย" เกิดขึ้น ทั้งที่สามารป้องกันได้   

ข้อสอง ถ้ายิ่งปล่อยให้มีการใช้เวลาเนิ่นนานในการแจกจ่ายวัคซีนและใช้เวลานานขึ้นในการกำจัดไวรัสทั่วโลก ก็จะยิ่งทำให้ไวรัสกลายพันธุ์มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง นั่นจะส่งผลกระทบต่อเราทุกคน  

ข้อสาม  ตราบใดที่ไวรัสยังมีอยู่  การค้าและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกจะหยุดชะงักอย่างรุนแรง การหลีกเลี่ยงสิ่งนี้เป็นผลประโยชน์ของเราเองเช่นกัน หากเราต้องการเห็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกลับมาท่องเที่ยวประเทศเราเพื่อสร้างรายได้ให้กับเราเหมือนเดิม 

 การศึกษาล่าสุดพบว่า ประเทศที่มีรายได้สูงอาจแบกรับความสูญเสียทั่วโลกประมาณ 13-49% ซึ่งอาจสูงถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเกิดจากการกระจายวัคซีนอย่างไม่เท่าเทียมกันในปี 2564

ในที่สุด การแพร่ระบาดที่ยืดเยื้ออาจส่งผลให้เกิดความยากจนมากขึ้น ทำให้การดำรงชีวิตของคนยากจนหลายล้านคนในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง เกิดความไม่มั่นคง ในทางกลับกันสิ่งนี้อาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทำลายเสถียรภาพทางการเมืองทั่วโลกซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเราทุกคนได้ 

Cr- https://bit.ly/3sX1hKt

ต่อไปนี้เป็น 3 วิธีที่จะทำให้ทั่วโลกจะได้วัคซีนอย่างเท่าเทียมกัน  

1. วัคซีนของโครงการ COVAX 

ประเด็นนี้แต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือ  ประเทศขนาดใหญ่ที่มีรายได้ปานกลางจำนวนมากที่เริ่มกระจายวัคซีน ทั้งอินเดีย , บราซิล , เม็กซิโก , ชิลี , อียิปต์ , แอฟริกาใต้และอินโดนีเซีย มีเพียงไม่กี่ประเทศในแอฟริกาที่เริ่มโครงการฉีดวัคซีน ซึ่งมีเพียงประเทศเดียวคือซิมบับเวเป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำ   
บางประเทศมีรายได้ปานกลางและประเทศมีรายได้ต่ำจะพึ่งพาบองค์การอนามัยโลก (WHO) ในการจัดสรรวัคซีนภายใต้โครงการ COVAX โดยมีเป้าหมายกระจายวัคซีน 2 พันล้านโดส ให้กับบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพในประเทศที่ยากจนภายในสิ้นปี 2564  

อย่างไรก็ตามปริมาณวัคซีนโครงการ COVAX จะครอบคลุมเพียง 20% ของประชากรแต่ละประเทศเท่านั้น และการขนส่งก็อาจจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า  เพราะอาจจะต้องรอให้มีการผลิตเพื่อส่งให้ประเทศที่ร่ำรวยก่อนแล้วจึงมีการส่งมอบให้กับประเทศที่ยากจน ยกตัวอย่างเช่น ประเทศกานา  ซึ่งเป็นประเทศแรกของกลุ่มประเทศที่มีความยากจนเพิ่งได้รับวัคซีนนี้เมื่อปลายเดือนก.พ. 2564 โดยได้รับเพียง 600,000 โดสเท่านั้น 

Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO กล่าวว่า แนวทางของประเทศที่ร่ำรวยที่ต้องการกักตุนวัคซีนไว้ในปริมาณที่มากๆๆ  ทำลายความพยายามของ COVAX ในการบรรลุเป้าหมายในการซื้อวัคซีนสองพันล้านโดสเพื่อบริหารในปี 2564  

"โลกกำลังอยู่ในช่วงวิกฤตของความล้มเหลวทางศีลธรรม - และราคาของความล้มเหลวนี้จะต้องจ่ายด้วยชีวิตและการดำรงชีวิตในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก"  

2. การผลิตวัคซีนเอง

ประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางยังสามารถผลิตวัคซีน COVID-19 ได้เองซึ่งเป็นทางเลือกของประเทศต่างๆเช่นอินเดียไทยเวียดนามและคิวบา  โดย The Serum Institute of India เป็นหนึ่งในสถาบันที่ใหญ่ที่สุดของโลกในการผลิตวัคซีนที่ได้รับใบอนุญาตจาก AstraZeneca ซึ่ง WHO อนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินได้ 

เซรั่มสถาบันอินเดียเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดของโลกของวัคซีนและมีใบอนุญาตในการผลิตวัคซีนแอสตร้าซึ่งผู้ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน       

บริษัทเพิ่งประกาศว่าจะผลิตวัคซีนสำหรับอินเดียก่อนที่จะมีการจัดสรรปริมาณวัคซีนไปทั่วโลกการเคลื่อนไหวที่อาจทำให้การจัดส่งวัคซีนไปยังหลายสิบประเทศล่าช้าและขัดขวางแผนการของ บริษัท ในการแบ่งปันปริมาณวัคซีน อินเดียยังมีการพัฒนาวัคซีนของตัวเองจากสาธารณรัฐอินเดียไบโอเทคซึ่งได้รับการอนุมัติในประเทศอินเดีย   

ขณะที่ประเทศคิวบาก็อยู่ในระหว่างการพัฒนาวัคซีนเช่นกัน  โดย Cuba’s Finlay Institute วางแผนไว้ว่าจะผลิตวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส ในปี 2564 

ขณะที่ประเทศไทยของเราก็กำลังมีการผลิตวัคซีนด้วยตัวเองเช่น โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด   ได้สิทธิการผลิตจาก  บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จากสหราชอาณาจักร  

ด้านประเทศเวียดนามก็มีการผลิตวัคซีนเองเช่นกัน  โดย บริษัท Nanogen Pharmaceutical ได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลให้ผลิตวัคซีน  Nanocovax.โดยบริษัทสามารถผลิตได้ 2 ล้านโดสต่อปี แต่มีแผนจะเพิ่มเป็น 30 ล้านโดสใน 6 เดือนข้างหน้า  

3. ประเทศร่ำรวยบริจาควัคซีนสำรองสู่ประเทศที่ยากจน 

ประเทศร่ำรวยสามารถบริจาควัคซีนให้กับประเทศที่ยากจนกว่าได้ ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอลมาครงของฝรั่งเศสกล่าวว่า ประเทศที่ร่ำรวยกว่าควรส่งวัคซีนถึง 5% ไปยังประเทศที่ยากจนกว่า  อย่างไรก็ตามยังไม่มีความชัดเจนว่าประเทศอื่นๆจะทำตามผู้นำของฝรั่งเศส  หรือไม่อย่างไร 

อย่างไรก็ตามรัสเซียและจีนได้จัดหาวัคซีนของตนเอง - Sputnik Vและ Sinopharm ตามลำดับให้กับประเทศที่มีรายได้น้อยหลายแห่งในแอฟริกาตะวันออกกลางและละตินอเมริกา   

โดยสรุป กล่าวได้วว่า เราไม่มีเวลาในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วยวิสัยทัศน์สั้นๆด้วยการคิดถึงแต่ประเทศตัวเอง หรือ "วัคซีนชาตินิยม" อีกต่อไปแล้ว  เพราะยิ่งล่าช้าในการกระจายวัคซีนมากขึ้นเท่าใด  ความสูญเสียทั้งชีวิตและผลกระทบทางเศรษฐกิจก็จะมากขึ้นเท่านั้น และเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ในทางศีลธรรมอีกด้วย 


ติดตาม  ProgressTH.org   Facebook ที่นี่ หรือ Twitter ที่นี่